บุรีรัมย์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

บุรีรัมย์

Equivalent terms

บุรีรัมย์

Associated terms

บุรีรัมย์

5 Archival description results for บุรีรัมย์

5 results directly related Exclude narrower terms

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

วัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยจากที่พบในหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal มีทั้งหมด 11 ชิ้น ดังนี้ 1) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11 2) รูปเทพธิดาศิลาทราย 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูง 1.10 เมตร สมัยทวาราวดี 4) พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 12 เซนติเมตร 5) รูปพระอิศวรศิลาสูงประมาณ 70 เซนติเมตร มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) แผ่นทองดุนนูนเป็นรูปพระอิศวร สูง 17 เซนติเมตร อาจมาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 7) แผ่นเงินดุนนูนเป็นรูปพระพุทธองค์ สูง 14 เซนติเมตร อาจค้นพบจาก อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 8) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนสูง 51 เซนติเมตร ศิลปทวาราวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 22 เซนติเมตร คาดว่าค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร เป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดและงามที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาประติมากรรมซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ที่ค้นพบใหม่ในศิลปทวารวดี

พระพุทธรูปนาคปรกศิลา แต่เดิมอยู่ในบ้านเหมืองฝ้าย เขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ได้ถูกลักขโมย ภายหลังทางหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้รับคืนและฝากไว้ที่วัดอุทัยมัคคาราม (วัดหินดาด) อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกขนาดใหญ่แบบทวารวดีอย่างแท้จริงและยังคงรักษาอิทธิพลของศิลปอินเดียแบบอมราวดี อันเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปนาคปรกไว้ได้มาก พระพุทธรูปสลักเป็นภาพนูนสูงเหนือแผ่นหลัง องค์พระสูง 1.05 เมตร รวมทั้งฐานข้างล่าง แต่ไม่รวมเดือยข้างใต้ หน้าตักกว้าง 67 เซนติเมตร เดือยใต้ฐานฐานสูง 60 เซนติเมตร

พระพุทธรูปนาคปรกที่บ้านเหมืองฝ้ายองค์นี้ถือเป็นองค์ที่เก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดีอีก 3 องค์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรกจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากจังหวัดปราจีนบุรี และพระพุทธรูปนาคปรกศิลาสมัยทวารวดี จากวัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล