สุราษฏร์ธานี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สุราษฏร์ธานี

Equivalent terms

สุราษฏร์ธานี

Associated terms

สุราษฏร์ธานี

5 Archival description results for สุราษฏร์ธานี

5 results directly related Exclude narrower terms

ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลีเย่

พระพุทธรูปนาคปรกมีอยู่เป็นจำนวนมากในศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะขอมและศิลปะลพบุรี ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปนาคปรกของขอมซึ่งเกิดขึ้นราวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 น่าจะได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรุ่นเก่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และมีอายุอย่างช้าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ผู้แปลให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ศิลปะสมัยศรีวิชัยและศิลปะลพบุรีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกในสมัยนั้นอาจเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัยก็ได้.

Boisselier, Jean

The Lord Buddha Protected by the Naga in the Attitude of Subduing Mara

A bronze Buddha image, protected by the Naga in the attitude of subduing Mara, is displayed in the Bangkok National Museum, Thailand. Seated on the coils of the Naga, 1.65 m. high, it was found at Wat Wieng (Wieng Temple), Chaiya, in the province of Suratthani, southern Thailand. This beautiful bronze image belongs to the Srivijayan style. On its base an inscription informs it was cast either at about the end of the 12th of 13th century A.D.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นาคปรก ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย

พระพุทธรูปนาคปรก สำริด ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย จากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่งามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากในสมัยศรีวิชัยนั้น พุทธศาสนาลัทธิมหายานกำลังแพร่หลายอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย และการสร้างเป็นปางมารวิชัยแทนปางทรงแสดงสมาธิก็ไม่น่าจะผิดอะไร คงเพื่อแสดงถึงความหมายของบรรดาสัปดาห์ต่างๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญสมาธิภายหลังการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จากความสำคัญของพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวจึงมีการสร้างพระบูชา พระกริ่ง เหรียญ หรือพระผง พระพุทธรูปขึ้นถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบ 3 รอบ และทรงมีพระประสูติกาลในวันเสาร์ รวมทั้งเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเป็นการสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในการนำไปช่วยเหลือการศึกษาแก่เยาวชนในประเทศไทย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล