ชลบุรี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ชลบุรี

Equivalent terms

ชลบุรี

Associated terms

ชลบุรี

3 Archival description results for ชลบุรี

Only results directly related

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Pierre Dupont : l'archeologie mone de Dvaravati : a review

The late Professor Dupont's great book has been warmly welcomed not only by specialists in Southeast Asian art and archaeology throughout the world , but also by many members of the general public in Thailand, among whom the interest in archaeology is steadily growing.
The book is dedicated by the author to his distinguished teacher, Alfred Foucher. A note by Madame Dupont thanks whose who helped to prepare the work for publication after her husband's death. Then, after a short preface by the author, comes the text itself, consisting of 9 chapters (almost 300 pages). Finally there are inventories of the objects discovered in the excavations of Davaravati sites conducted by the author; indexes; bibliography; etc. There are 24 pages of drawings, plans and maps, and 541 photographs. He ends with a briefer summary of the enduring influence of certain other types of Dvaravti image, and of Dvaravati architecture associated with the Theravada.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย

จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ศิลปะแบบสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจิตรกรรมของไทยซึ่งกำลังก่อรูปแบบเป็นแบบของตนเอง เฉพาะพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นไทย ในขณะที่รูปบุคคลอื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเป็นแบบอินเดียหรือเขมรอยู่
ศิลปะแบบอยุธยา เช่น ผนังในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ มีจิตรกรรมปูนเปียกเป็นรูปเทวดามีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลายเส้นจากเกาะลังกาได้มาแพร่หลายถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัยเป็นส่วนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลศิลปะแบบอู่ทองและอินเดียอยู่บ้าง
ศิลปะแบบธนบุรี มีสมุดภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2335 ภายหลังสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยอยุธยา ในสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยธนบุรี ภาพสถาปัตยกรรมและภาพบุคคลได้เขียนไปตรามกฎเกณฑ์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีการสร้างวัดกันขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยอยุธยาได้เข้ามาทำงาน และได้เกิดมีสกุลช่างเขียนที่สำคัญ สกุลช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางเขียนภาพเรื่องศาสนาหรือเรื่องนิยายต่าง ๆ แบ่งออกได้ 5 แบบ 1. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับเรื่องราวเทวดาและเรื่องนิยายต่าง ๆ 2. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับตัวละคอนในเรื่องรามเกียรติ์ 3. นักดนตรี นางรำ ข้าราชสำนัก และบรรดาชนชั้นสูง 4. ประชาชนธรรมดา 5. ภาพนรก

ศิลป์ พีระศรี