เขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)

Equivalent terms

เขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)

Associated terms

เขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)

2 Archival description results for เขาถมอรัตน์ (เพชรบูรณ์)

2 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบจากเมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ บางท่านเรียกว่า เมืองอภัยสาลี เดิมตั้งอยู่ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงค้นพบเมืองนี้เมื่อ พ.ศ. 2448 ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ต่อมาพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก แสดงว่าอาณาจักรเจนละหรือขอมรุ่นแรกในขณะนั้นได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงยังลุ่มแม่น้ำป่าสักแล้ว โบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบออกไปจากเมืองศรีเทพ 3 ชิ้น และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน (Norton Simon Museum of Art) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1) เทวรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.14 เมตร คาดว่าเป็นพระอาทิตย์และเป็นชิ้นที่สำคัญที่สุด 2) แผ่นทอง สูงประมาณ 30 ซม. ดุนเป็นเทวรูปพระนารายณ์ 3) พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สลักด้วยศิลาทรายสีเทา สูงประมาณ 2.18 เมตร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล