กันทรวิชัย (มหาสารคาม)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กันทรวิชัย (มหาสารคาม)

Equivalent terms

กันทรวิชัย (มหาสารคาม)

Associated terms

กันทรวิชัย (มหาสารคาม)

2 Archival description results for กันทรวิชัย (มหาสารคาม)

2 results directly related Exclude narrower terms

วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี

ศิลปะทวารวดีภายในประเทศไทยเจริญขึ้นระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ทางภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครปฐม คูบัว อ่างทอง และลพบุรี และได้แผ่ขึ้นไปทางเหนือยังอาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน) จนกระทั่งถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แต่ก็ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาถึงก่อนหน้านั้น ตัวอย่างของศิลปะทวารวดีสมัยต้น ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาขนาดเล็ก ครองจีวรตามแบบอมราวดีแต่จีวรไม่มีริ้ว แสดงปางประทานอภัยหรือวิตรรกะ 2) พระพุทธรูปนาคปรกศิลา ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3) พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ค้นพบในถ้ำเขาพระ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 4) ประติมากรรมดินเผา ค้นพบที่เมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 5) ประติมากรรมดินเผาค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 6) เทวรูปพระคเณศศิลา ค้นพบที่เมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ตัวอย่างศิลปะทวารวดีสมัยที่สอง ได้แก่ 1) พระพุทธรูปยืนศิลาองค์ใหญ่ พบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 2) พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ สูง 1.20 เมตร ค้นพบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับประติมากรรมรูปพระศรีอาริยเมตไตรย 2 องค์ สูง 47 เซนติเมตร และสูง 1.37 เมตร ศิลปะทวารวดีสมัยที่สาม อิทธิพลศิลปะขอมสมัยบาปวนเริ่มเข้ามาปะปน ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ พระพุทธรูปปางสมาธิศิลา ค้นพบ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล