พนมสันตึก (กัมพูชา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พนมสันตึก (กัมพูชา)

Equivalent terms

พนมสันตึก (กัมพูชา)

Associated terms

พนมสันตึก (กัมพูชา)

2 Archival description results for พนมสันตึก (กัมพูชา)

2 results directly related Exclude narrower terms

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย

Bhattacharya, Kamaleswar