Epigraphy

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Epigraphy

Equivalent terms

Epigraphy

Associated terms

Epigraphy

13 Archival description results for Epigraphy

13 results directly related Exclude narrower terms

ศิลาจารึกโวคาญ

ศิลาจารึกนี้เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤตที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีนและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ค้นพบที่หมู่บ้านโวคาญ เขตเมืองญาตรัง เป็นจารึกที่สลักบนหินแกรนิต สูงกว่า 2.70 เมตร ตัดเป็นเสารูปสี่เหลี่ยมกว้าง 72 เซนติเมตร หนา 67 เซนติเมตร ตัวอักษรที่จารึกมีขนาดใหญ่ความสูงราว 4 เซนติเมตร และคล้ายคลึงกับตัวอักษรบนจารึกของรุทรทามัน (Rudradaman) ที่ คิรนรร (Girnar) ของวาสิษฐีบุตร (Vasisthiputra) ที่กันเหริ (Kanheri) ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 7-8 ศาสตราจารย์ ฟิลลิโอซาต์ อธิบายว่า แม้จะจารึกในภาษาสันสกฤต แต่ต้นเค้าเดิมคงมาจากประเพณีทมิฬ และคงไม่ใช่จารึกในพุทธศาสนา แต่แสดงประเพณีตามแบบศาสนาฮินดู และสรุปว่า พระเจ้าศรีมาระอาจเป็นพระราชาในราชวงศ์ปาณฑยะทางประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำแหน่ง “มารัน” ในภาษาทมิฬ แต่พระองค์อาจไม่ได้เสด็จมาครองราชย์ในอาณาจักรทางแหลมอินโดจีน แต่ผู้ปกครองอาณาจักรอาจเป็นเพียงเชื้อสายของพระองค์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกบ่ออีกา

บ่ออีกา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชสีมาเก่า โบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่ จารึกศิลาทรายสีแดง ขนาด 1.10 x 0.56 x 0.25 เมตร หลักหนึ่ง ซึ่งแตกออกเป็น 2 ชิ้น แต่ละด้านมีจารึกภาษาสันสกฤต ใช้ตัวอักษรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา จารึกที่เก่าที่สุดประกอบด้วยจารึก 4 บรรทัด ประกอบเป็นคาถา “สรัคธรา” สลักด้วยตัวอักษรขนาดค่อนข้างใหญ่ ข้อความในจารึกที่อ่านได้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งชายหญิงถวายแด่พระภิษุสงฆ์ จารึกด้านที่ 2 เป็นภาษาสันสกฤต 12 บรรทัด และจารึกภาษาขอม 5 บรรทัด กล่าวถึงการสรรเสริญพระอิศวรก่อนกล่าวถึงอังศเทพ หลักฐานสำคัญของจารึกหลักนี้ก็คือ ทำให้ทราบว่าใน พ.ศ. 1411 ดินแดนจังหวัดนครราชสีมา อาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโบราณชื่อ จนาศะ ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ

ศิลาจารึกเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจานาศะ

ได้ค้นพบแผ่นศิลามีจารึกสองด้านอยู่ในเนินดินใกล้กับโบสถ์พราหมณ์ หรือเทวสถานทางทิศตะวันออกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา จารึกสูงประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 22 เซนติเมตร ด้านแรกมีจารึกภาษาสันสกฤต 18 บรรทัด แต่งเป็นโศลกทั้งหมด ยกเว้นบทที่ 6 จารึกเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญ 2 บท บทแรกสรรเสริญพระศังกร (ศิวะ) บทที่ 2 สรรเสริญนางปารพตี ต่อจากนั้นจึงกล่าวถึงรายพระนามพระราชแห่งอณาจักรจานาศปุระ จารึกนี้สร้างขึ้นเพื่อฉลองการสร้างพระรูปพระชนนี เป็นพระเทวีคือชายาของพระศิวะ เมื่อศักราช 859 (พ.ศ. 1480) โดยที่ราชวงศ์นี้ได้ปรากฏขึ้นในศิลาจารึกหลักนี้เป็นครั้งแรก และแตกต่างไปจากราชวงค์ที่ปกครองอาณาจักรขอมอยู่ในขณะนั้น สำหรับอาณาจักรศรีจานาศะหรือจานาศปุระแห่งนี้ ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่ามีอาณาเขตกว้างขวางแค่ไหน และมีราชธานีอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา หรือเมืองอื่น ๆ เป็นต้นว่า เมืองลพบุรี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 10]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 5 พิธีเคารพบูชาไฟและร่องรอยของศาสนาพระเวท) อาณาจักรขอมมีพิธีบูชาพระอัคนีร่วมกับพระอิศวร มีจารึกกล่าวว่าไฟศักดิ์สิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของเทพ 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระลักษมี ซึ่งพิธีสังเวยไฟนี้จะกระทำโดยพวกพราหมณ์ ศาสนาพระเวทมีการสืบต่อในอาณาจักรขอม แต่ไม่ได้มีความสำคัญเป็นเพียงการศึกษาคัมภีร์ที่ได้รับความเคารพอย่างมาก กวีขอมได้นำคำศัพท์ในคัมภีร์พระเวทมาใช้เรียกในพิธีกรรมที่เกิดขึ้นใหม่

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 8]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 6]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) แต่เดิมในอินเดีย ลัทธิไวษณพนิกายเชื่อว่าพระวาสุเทพเป็นเทวดาสูงสุด ต่อมาในสมัยราชวงศ์คุปตะจึงเปรียบเทียบพระวาสุเทพ หรือพระกฤษณะคือพระนารายณ์ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ส่งอิทธิพลไปยังอาณาจักรขอม ชื่อของพระนารายณ์ปรากฏในคัมภีร์และจารึกต่าง ๆ โดยมีการเรียกนามแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละนามแสดงถึงปรัชญาที่คล้ายคลึงกับลัทธิไศวนิกาย พระนารายณ์คือพระพรหมันสูงสุด สิ่งมีชีวิตเบื้องต้น และสิ่งมีชีวิตที่สูงสุด เป็นเทพทั้งสามที่ออกมาเป็นต้นเหตุแห่งการเกิด การักษา และการทำลายของจักรวาล ในส่วนประติมานานวิทยาของพระนารายณ์เกี่ยวข้องกับการอวตารซึ่งมีถึง 39 ปาง เทวรูปนายรายณ์แสดงเป็นเทวรูป 8 กร หรือ 4 กร พระหัตถ์ทั้งถือสิ่งของต่าง ๆ รูปพระนารายณ์แสดงปางกวนเกษียรสมุทร รูปพระนารายณ์ทรงครุฑซึ่งอาจอยู่พร้อมกับพระศรีและพระภูมิพระชายาของพระนารายณ์ และรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์

Bhattacharya, Kamaleswar

พระธรรมจักรจารึกภาษามคธ ได้มาจากจังหวัดนครปฐม

ธรรมจักรวงหนึ่งที่มาจากการขุดค้นพบระหว่างบริเวณพระปฐมเจดีย์และพระประโทน เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุยุคล ปรากฏจารึกภาษามคธหลายตำแหน่ง ได้แก่ บนขอบกงรอบนอกล้อมรอบลายดอกไม้ บนกำ 15 ซี่ บนขอบล้อมรอบลวดลายซึ่งประดับดุมทั้งชั้นในและชั้นนอก เนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระอริยสัจ 4 ประโยชน์แห่งมรรค ญาณ 9 ประการ และลักษณะของธรรมจักร จารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงวัฒนธรรมสมัยทวารวดี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 13