จารึกภาษาเขมร

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

จารึกภาษาเขมร

Equivalent terms

จารึกภาษาเขมร

Associated terms

จารึกภาษาเขมร

13 Archival description results for จารึกภาษาเขมร

13 results directly related Exclude narrower terms

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Prasat Phra Viharn

Prasat Phra Viharn is one of the most beautiful ruins of antiquity. Situated at a majestic height on the Dongrek Mountain Range, which marks the frontier between Cambodia and south-east Thailand, it is a Khmer shrine built between the 11th and 13th centuries. A series of sanctuaries and flights of stone stairways leads up the mountain to the temple tower, the centre of the worship of the god Siอa, to whom the shrine was dedicated. The extensive ruins, older than Angkor Wat, are evocatively preserved; roofs and columns have fallen, but the great native stone walls remain, and the massive carvings have been only softened and mellowed by the centuries.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 1]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร

Bhattacharya, Kamaleswar

Results 1 to 10 of 13