นครราชสีมา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

นครราชสีมา

Equivalent terms

นครราชสีมา

Associated terms

นครราชสีมา

13 Archival description results for นครราชสีมา

13 results directly related Exclude narrower terms

วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย

จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ศิลปะแบบสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจิตรกรรมของไทยซึ่งกำลังก่อรูปแบบเป็นแบบของตนเอง เฉพาะพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นไทย ในขณะที่รูปบุคคลอื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเป็นแบบอินเดียหรือเขมรอยู่
ศิลปะแบบอยุธยา เช่น ผนังในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ มีจิตรกรรมปูนเปียกเป็นรูปเทวดามีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลายเส้นจากเกาะลังกาได้มาแพร่หลายถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัยเป็นส่วนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลศิลปะแบบอู่ทองและอินเดียอยู่บ้าง
ศิลปะแบบธนบุรี มีสมุดภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2335 ภายหลังสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยอยุธยา ในสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยธนบุรี ภาพสถาปัตยกรรมและภาพบุคคลได้เขียนไปตรามกฎเกณฑ์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีการสร้างวัดกันขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยอยุธยาได้เข้ามาทำงาน และได้เกิดมีสกุลช่างเขียนที่สำคัญ สกุลช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางเขียนภาพเรื่องศาสนาหรือเรื่องนิยายต่าง ๆ แบ่งออกได้ 5 แบบ 1. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับเรื่องราวเทวดาและเรื่องนิยายต่าง ๆ 2. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับตัวละคอนในเรื่องรามเกียรติ์ 3. นักดนตรี นางรำ ข้าราชสำนัก และบรรดาชนชั้นสูง 4. ประชาชนธรรมดา 5. ภาพนรก

ศิลป์ พีระศรี

ศิลาจารึกบ่ออีกา

บ่ออีกา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชสีมาเก่า โบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่ จารึกศิลาทรายสีแดง ขนาด 1.10 x 0.56 x 0.25 เมตร หลักหนึ่ง ซึ่งแตกออกเป็น 2 ชิ้น แต่ละด้านมีจารึกภาษาสันสกฤต ใช้ตัวอักษรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา จารึกที่เก่าที่สุดประกอบด้วยจารึก 4 บรรทัด ประกอบเป็นคาถา “สรัคธรา” สลักด้วยตัวอักษรขนาดค่อนข้างใหญ่ ข้อความในจารึกที่อ่านได้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งชายหญิงถวายแด่พระภิษุสงฆ์ จารึกด้านที่ 2 เป็นภาษาสันสกฤต 12 บรรทัด และจารึกภาษาขอม 5 บรรทัด กล่าวถึงการสรรเสริญพระอิศวรก่อนกล่าวถึงอังศเทพ หลักฐานสำคัญของจารึกหลักนี้ก็คือ ทำให้ทราบว่าใน พ.ศ. 1411 ดินแดนจังหวัดนครราชสีมา อาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโบราณชื่อ จนาศะ ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 11 to 13 of 13