ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- ไทย

Equivalent terms

ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- ไทย

Associated terms

ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- ไทย

8 Archival description results for ศิลปกรรมพุทธศาสนา -- ไทย

Only results directly related

จดหมายเรื่องศิลปแบบเชียงแสน

จดหมายของเอ.บี. กริสโวลด์ ถึง ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เพื่อคัดค้านข้อความอ้างอิงในบทความเรื่อง “การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล” ที่ว่า กริสโวลด์เป็นผู้กล่าวว่าการผลิตพระพุทธรูปในศิลปแบบเชียงแสนเพิ่งเริ่มต้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2130) และแสดงความเห็นต่อไปว่า “ศิลปแบบเชียงแสน” ย่อมมีความหมายแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แปลไม่เห็นพ้องกับทฤษฎีของกริสโวลด์และเห็นว่า พระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้ม ณ พระเจดีย์ทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงนั้น แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปเชียงแสนรุ่นแรก เนื่องจากพระเจดีย์องค์นี้อาจสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ.1800 -1825 อันเป็นระยะแรกของสมัยสุโขทัย แสดงว่าศิลปเชียงแสนรุ่นแรกเกิดขึ้นก่อนศิลปสุโขทัย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.

Boisselier, Jean

การค้นคว้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ เมืองนครปฐม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ได้ทรงเน้นถึงว่า พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสถานที่น่าเคารพนับถือที่สุด สำคัญที่สุดในประเทศไทย และเป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุด ในราว พ.ศ. 2405 พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ก่อสร้างหุ้มพระปฐมเจดีย์องค์เดิมทั้งหมดไว้ภายในพระเจดีย์องค์ปัจจุบัน การริเริ่มของพระองค์ทำให้สังเกตเห็นว่า มีวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาซึ่งมีลักษณะดั้งเดิมอยู่ในบริเวณรอบ ๆ พระปฐมเจดีย์ ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในศาสนา พระพุทธรูปมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ พระธรรมจักร ภาพสลักนูนต่ำบนหิน หรือปั้นด้วยปูน หรือดินเผา และพระพิมพ์ ใน พ.ศ. 2495 การค้นพบและการตีพิมพ์ของศาสตราจารย์ เซเดส์ เกี่ยวกับเศษจารึก 2 ชิ้น ทำให้กล่าวได้ว่า มีการใช้ภาษามอญอยู่ที่เมืองนครปฐมในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2509 ได้ค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก มีวัดพระประโทนเป็นจุดศูนย์กลาง เมืองนี้มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน การกำหนดอายุของเจดีย์จุลประโทนจากการก่อสร้าง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 การก่อสร้างเจดีย์พร้อมกับมีลานทักษิณซึ่งมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ทิศ รวมทั้งลวดลายเครื่องประดับทำด้วยดินเผาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 การก่อสร้างครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ลานทักษิณหายไป รวมทั้งมีลวดลายเครื่องประดับปูนปั้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 การก่อสร้างครั้งที่ 3 อยู่ในราวต้นหรือกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งค้นพบวัตถุที่บรรจุเป็นศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหันกลับไปยังลัทธิเถรวาทแบบดั้งเดิม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ใบเสมาสลักเล่าเรื่องสมัยลพบุรีในพิพิธภัณฑสถานฯ

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ห้องลพบุรี มีใบเสมาศิลาสมัยลพบุรี ซึ่งมีภาพสลักประกอบอยู่ 3 แผ่น
ใบแรกสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สลักด้วยศิลาทรายสีชมพู สูง 119 ซม. กว้าง 65 ซม. และหนา 46 ซม. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2475 ด้านหน้าสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีนาค 7 เศียรอยู่ดหนือพระเศียรของพุทธรูป และมีขนาดนาค 3 ชั้น อยู่เบื้องล่าง ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปบุรุษและสตรียืนอยู่ภายในวงโค้งซึ่งสลักเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อศิลา ด้านหลังคือด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปนาคปรก สลักเป็นรูปบุรุษ 8 กร ยืนอยู่ภายในซุ้ม ซึ่งด้านบนสลักเป็นขอบซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นบนมีส่วนกลางแหลม ยืนเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งมีเกสรบัวประกอบ มีพระพุทธรูป 2 องค์ ปางสมาธิขนาดเล็กอยู่ภายในซุ้มเบื้องบนของศีรษะ ด้านข้างซ้ายของพระพุทธรูปสลักรูปบุรุษและสตรียืนซ้อนกันอยู่ภายในซุ้ม วงส่วนยอดประกอบด้วยวงโค้ง 3 วง ดังในภาพสลักด้านข้างด้านขวา รูปบุรุษด้านบนคงเป็นรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีอย่างแน่นอน
ใบเสมาสลักภาพอีก 2 แผ่น มาจากศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี สลักขึ้นในสมัยลพบุรี โดยใช้หินปูนสีเทาซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยทวารวดี
ใบเสมาแผ่นที่ 2 สูง 96.5 ซม. กว้าง 46 ซม. ความหนารวมฐานด้านหน้า 44.5 ซม. สลักเป็นรูปพระพรหมกำลังยืนอยู่ภายในซุ้ม ซุ้มมีลักษณะคล้ายกับซุ้มเหนือพระพุทธรูปนาคปรกในใบเสมาแผ่นที่ 1 แต่มีลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น คือภายในแบ่งเป็นแนว 3 แนวแทนที่จะเป็นพื้นเรียบดังแต่ก่อน ใบระกาเหนือซุ้มเพิ่มขึ้นเป็น 13 ใบ แทนที่จะเป็น 11 ใบ และทุกใบประกอบด้วยขอบเป็นเส้นคู่แทนที่จะมีแต่เพียงบนใบกลางเพียงใบเดียว ลายที่มุมเหนือบัวหัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คงกลายมาจากเศียรนาคที่หันหัวออกคายพวงอุบะ ภายในมีพระพรหมกำลังยืนอยู่ แลเห็นพักตร์เพียง 2 พักตร์
ใบเสมาแผ่นที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับใบเสมาสลักรูปพระพรหมมาก สูง 103 ซม. กว้าง 42 ซม. และหนา 30 ซม. สลักเป็นรูปเทพธิดา 2 องค์ ยืนอยู่ภายในซุ้ม ลักษณะซุ้มเหมือนกับซุ้มเหนือพระพรหม แต่ใบระกาจำนวนลงเหลือเพียง 11 ใบ ไม่มีขอบเป็นเส้นคู่ แต่มีเส้นนูนอยู่ตรงกลางทุกใบ ลวดลายที่ขอบซุ้มเหนือหัวบัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลายมาจากลายเศียรนาคหันหัวออกคายพวงอุบะ เทพธิดา 2 องค์นี้แสดงให้เห็นว่าสลักขึ้นตรงกับศิลปขอมสมัยบาปวนตอนปลาย (ราว พ.ส. 1600-1650) คือมีเกศาเป็นเกศาถักรวบเป็นมวยมีรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่เหนือเศียร และมีลูกประคำอยู่ที่เชิงมวย มีไรพระศกและพระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล