Item 027 - ใบเสมาสลักเล่าเรื่องสมัยลพบุรีในพิพิธภัณฑสถานฯ

Open original Digital object

Identity area

Reference code

TH Subhadradis 02 ACAR-01-027

Title

ใบเสมาสลักเล่าเรื่องสมัยลพบุรีในพิพิธภัณฑสถานฯ

Date(s)

  • 2518 (Creation)

Level of description

Item

Extent and medium

บทความ จำนวน 17 หน้า

Context area

Name of creator

(2466-2546)

Biographical history

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้ารมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ประสูติเมื่อวันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2466 จนเมื่อพระชันษาได้ 1 เดือน หม่อมเจิมจึงได้ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ตามที่ได้ทรงเคยขอไว้ตั้งแต่ที่หม่อมเจิมมีครรภ์ กระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา สิ้นพระชนม์ลง จึงกลับมาประทับที่วังวรดิศตามเดิมเมื่อพระชันษาได้ 11 ปี

ด้านการศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาด้านอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2486 จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ทรงได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลให้เสด็จไปทอดพระเนตรงานด้านการพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี ณ ประเทศอังกฤษ แล้วจึงตั้งพระทัยที่จะศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีที่โรงเรียนลูฟ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และจะทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ แต่ยังมิทันสำเร็จก็มีเหตุให้เสด็จกลับเมืองไทยก่อน ในปี พ.ศ.2496

ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว ทรงเข้าทำงานในกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และย้ายไปเป็นหัวหน้าแผนกหอสมุดดำรงราชานุภาพ สังกัดกรมศิลปากร จนกระทั่งทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและเสด็จกลับไทยแล้ว ก็ยังทรงปฏิบัติงานในกรมศิลปากรอยู่ แต่ย้ายมาประจำตำแหน่งภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้มักจะทรงเป็นวิทยากร ถวายการนำชม และทรงนำชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยแด่แขกคนสำคัญของบ้านเมือง ทั้งพระประมุขและประมุขของชาติต่าง ๆ ที่มาเยือนประเทศไทยโดยตลอด

ระหว่างที่ทรงเป็นภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก็ทรงสอนนักศึกษาของคณะโบราณคดี และ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย โดยทรงวางรากฐานการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหลักสูตรการศึกษาเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ ทรงนิพนธ์ตำราทางวิชาการ หนังสือนำชม หนังสือทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ หนังสือที่ทรงชำระใหม่ หนังสือรวมบทความ บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ต่อมาภายหลังจึงทรงโอนย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งทั้งทางด้านบริหาร จนเกษียณอายุราชการในปี 2529 นอกจากนี้ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPAFA และ คณะกรรมการต่าง ๆ ของกรมศิลปากรอยู่ตลอด

ภายหลังจากที่ทรงเกษียณอายุราชการแล้วและประชวรด้วยโรคพระหทัย ซึ่งทรงได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ยังทรงทำงานอยู่เรื่อยมา ทั้งงานสอนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และการเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ตามปรกติ กระทั่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทรงลื่นล้มในห้องสรง และประชวรทรุดลงตามลำดับ จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สิริพระชันษาได้ 80 ปี

Archival history

Immediate source of acquisition or transfer

Content and structure area

Scope and content

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ห้องลพบุรี มีใบเสมาศิลาสมัยลพบุรี ซึ่งมีภาพสลักประกอบอยู่ 3 แผ่น
ใบแรกสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สลักด้วยศิลาทรายสีชมพู สูง 119 ซม. กว้าง 65 ซม. และหนา 46 ซม. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2475 ด้านหน้าสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีนาค 7 เศียรอยู่ดหนือพระเศียรของพุทธรูป และมีขนาดนาค 3 ชั้น อยู่เบื้องล่าง ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปบุรุษและสตรียืนอยู่ภายในวงโค้งซึ่งสลักเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อศิลา ด้านหลังคือด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปนาคปรก สลักเป็นรูปบุรุษ 8 กร ยืนอยู่ภายในซุ้ม ซึ่งด้านบนสลักเป็นขอบซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นบนมีส่วนกลางแหลม ยืนเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งมีเกสรบัวประกอบ มีพระพุทธรูป 2 องค์ ปางสมาธิขนาดเล็กอยู่ภายในซุ้มเบื้องบนของศีรษะ ด้านข้างซ้ายของพระพุทธรูปสลักรูปบุรุษและสตรียืนซ้อนกันอยู่ภายในซุ้ม วงส่วนยอดประกอบด้วยวงโค้ง 3 วง ดังในภาพสลักด้านข้างด้านขวา รูปบุรุษด้านบนคงเป็นรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีอย่างแน่นอน
ใบเสมาสลักภาพอีก 2 แผ่น มาจากศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี สลักขึ้นในสมัยลพบุรี โดยใช้หินปูนสีเทาซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยทวารวดี
ใบเสมาแผ่นที่ 2 สูง 96.5 ซม. กว้าง 46 ซม. ความหนารวมฐานด้านหน้า 44.5 ซม. สลักเป็นรูปพระพรหมกำลังยืนอยู่ภายในซุ้ม ซุ้มมีลักษณะคล้ายกับซุ้มเหนือพระพุทธรูปนาคปรกในใบเสมาแผ่นที่ 1 แต่มีลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น คือภายในแบ่งเป็นแนว 3 แนวแทนที่จะเป็นพื้นเรียบดังแต่ก่อน ใบระกาเหนือซุ้มเพิ่มขึ้นเป็น 13 ใบ แทนที่จะเป็น 11 ใบ และทุกใบประกอบด้วยขอบเป็นเส้นคู่แทนที่จะมีแต่เพียงบนใบกลางเพียงใบเดียว ลายที่มุมเหนือบัวหัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คงกลายมาจากเศียรนาคที่หันหัวออกคายพวงอุบะ ภายในมีพระพรหมกำลังยืนอยู่ แลเห็นพักตร์เพียง 2 พักตร์
ใบเสมาแผ่นที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับใบเสมาสลักรูปพระพรหมมาก สูง 103 ซม. กว้าง 42 ซม. และหนา 30 ซม. สลักเป็นรูปเทพธิดา 2 องค์ ยืนอยู่ภายในซุ้ม ลักษณะซุ้มเหมือนกับซุ้มเหนือพระพรหม แต่ใบระกาจำนวนลงเหลือเพียง 11 ใบ ไม่มีขอบเป็นเส้นคู่ แต่มีเส้นนูนอยู่ตรงกลางทุกใบ ลวดลายที่ขอบซุ้มเหนือหัวบัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลายมาจากลายเศียรนาคหันหัวออกคายพวงอุบะ เทพธิดา 2 องค์นี้แสดงให้เห็นว่าสลักขึ้นตรงกับศิลปขอมสมัยบาปวนตอนปลาย (ราว พ.ส. 1600-1650) คือมีเกศาเป็นเกศาถักรวบเป็นมวยมีรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่เหนือเศียร และมีลูกประคำอยู่ที่เชิงมวย มีไรพระศกและพระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม.

Appraisal, destruction and scheduling

Accruals

ไม่มีการเพิ่มขึ้นของเอกสาร

System of arrangement

Conditions of access and use area

Conditions governing access

ปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการใช้หอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร

Conditions governing reproduction

ห้ามนำไปดัดแปลงหรือทำซ้ำเพื่อการจำหน่าย

Language of material

  • English
  • Thai

Script of material

Language and script notes

Physical characteristics and technical requirements

Finding aids

Allied materials area

Existence and location of originals

ไม่มีข้อมูลสถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ

Existence and location of copies

หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

Related units of description

ศิลปและโบราณคดีในประเทศไทย เล่ม 2. [กรุงเทพฯ] กรม, 2518. หน้า 25-33.

Related descriptions

Notes area

Note

กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมายุครบ 4 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2518 มีบทความภาษาอังกฤษประกอบ

Alternative identifier(s)

Access points

Genre access points

Description control area

Description identifier

Institution identifier

Rules and/or conventions used

Status

Level of detail

Dates of creation revision deletion

Language(s)

Script(s)

Sources

Digital object (Master) rights area

Digital object (Reference) rights area

Digital object (Thumbnail) rights area

Accession area