คำบรรยายเรื่อง ศิลปในประเทศไทย
- TH Subhadradis 01 BK-01-33-001
- Item
- 2506
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
70 results directly related Exclude narrower terms
คำบรรยายเรื่อง ศิลปในประเทศไทย
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
สถานที่น่าศึกษาในสี่ภาคของประเทศไทย
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์
Part of บทความ
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย
Part of บทความ
วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย เป็นปราสาทสำคัญแห่งแรกที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาในระยะนี้ การซ่อมปราสาทหินพิมายด้วยวิธีอะนัสติโลซิส (Anastylosis) ทำให้ได้ขุดค้นพบทับหลังศิลาหลายชิ้น ทับหลังชิ้นที่1 อยู่บนลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก แสดงภาพพระพุทธรูปหลายองค์ทรงเครื่องประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรียงต่อกันไปแสดงปางวิตรรกะ (แสดงธรรม) อาจสลักขึ้นก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย ทับหลังชิ้นที่2 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ด้านล่างเป็นภาพนางอัปสรกำลังฟ้อนรำ ทับหลังชิ้นที่3 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ด้านบนสลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเรียงเป็นแถวอยู่ภายในซุ้ม องค์กลางใหญ่กว่าองค์ด้านข้างเล็กน้อย ใต้องค์กลางมีสิงห์กำลังแบกอยู่ สองข้างของสิงห์ตัวกลางมีสิงห์อีกข้างละตัว อาจสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ทับหลังชั้นที่4 เดิมอาจอยู่ในประตูซุ้มด้านทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิสำเร็จเพียงครึ่งองค์ ประทับบนบัลลังก์ที่มีหงส์กำลังแบกอยู่ ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอีก 4 องค์ คงสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ส่วนภาพสลักบนทับหลังของปราสาทองค์กลางบนมุขทิศตะวันออก มีภาพสลักเป็นบุรุษทำท่ากำลังจะฆ่ายักษ์อยู่กลางทับหลัง และมีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์บนหน้าบันด้านนี้ มุขด้านตะวันออกมีทับหลังเป็นภาพเทวดาหรือกษัตริย์ประทับนั่งอยู่ในเรือที่มีฝีพายหลายคน หน้าบันสลักเป็นภาพพระอิศวรและพระ อุมาทรงโคนนทิ มุขด้านใต้มีหน้าบันสลักเป็นภาพพระศิวนาฎราช มุขด้านตะวันตกมีทับหลังสลักเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์แต่ยังสลักไม่สำเร็จ ทับหลังหลายชิ้นในบริเวณปราสาทหินพิมาย แสดงภาพบุคคลนุ่งผ้าในตอนปลายศิลปะแบบบาปวน และศิลปะแบบนครวัด อาจกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายนี้คงสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1625-1675.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
การขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ทำให้พบข้อมูลที่อาจกำหนดอายุสมัยของปราสาทแห่งนี้ได้ราว 5 สมัย คือนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ที่ 18 สิ่งก่อสร้างสำคัญที่กำหนดอายุได้เก่าที่สุดลงมาจนถึงใหม่สุดได้แก่ ปรางค์อิฐสององค์ ปรางค์น้อย ปรางค์องค์ใหญ่และระเบียงที่ล้อมรอบ ทางเดินและสะพานนาคและวิหารสองหลัง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ข้อปุจฉาเรื่องบ้านเชียงระหว่าง ดร. สุด แสงวิเชียร กับ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
ข้อสงสัยของ ดร.สุด แสงวิเชียร ที่มีต่อบทความเรื่อง Prehistoric art ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เกี่ยวกับอายุของวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียทดลองอายุโดยวิธี Thermoluminescence พบว่า มีอายุราว 4000 B.C. หรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง ดร.สุด แสงวิเชียร ไม่เชื่อถือการหาอายุบ้านเชียงโดยวิธีคาร์บอน 14 ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งแหล่งข้อมูลบทความการทดลองอายุบ้านเชียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและแหล่งข้อมูลบุคคลชื่อ Dr. H.G. Quaritch Wales พร้อมยืนยันว่า การค้นคว้าทางด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล