History

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

History

Equivalent terms

History

Associated terms

History

86 Archival description results for History

86 results directly related Exclude narrower terms

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

บทบรรยายในการประชุมสัมนาของสมาคมประวัติศาสตร์ ที่ทรงกล่าวถึงความก้าวหน้าของการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ ซึ่งหลักฐานสำคัญที่มีอยู่คือ ศิลาจารึก จดหมายเหตุ และตำนาน เป็นต้น ตลอดจนความพยายามที่จะค้นคว้าหาหลักฐานใหม่ ๆ ที่หาได้ยาก รวมถึงการนำหลักฐานเดิมที่มีอยู่มาตีความใหม่ บทบรรยายที่ท่านอาจารย์ได้ประทานนี้ทรงชี้ให้เห็นถึงวิธีการศึกษา พัฒนาการและปัญหาต่าง ๆ ของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 และ 6

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) - ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 จารึกวัดมหาวัน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 3) จารึกจำนวน 4 ด้าน (แก้ไขในบทความจากเดิม 3 ด้าน) ทั้งหมด 85 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง ความสัตย์ที่แท้จริง คือ จรมตฺต ในผลงานของท่าน (กษัตริย์) ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ กล่าวถึงราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม) และการถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 6 จารึกวัดบ้านหลวย (จารึกวัดบ้านหลุย) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 6) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 32 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา เช่น การอุทิศข้าพระสำหรับบำรุงรักษาวัดและสระน้ำ การถวายสิ่งของต่าง ๆ เช่นหม้อน้ำ, ฉัตรและเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งกล่าวถึงผู้สร้างเจดีย์และคูหา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2, 3 และ 4

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดกู่กุด) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 2) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 38 บรรทัด
เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสวาธิสิทธิโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์พระรัตนเจดีย์ซึ่งพังทลายลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว มีการกล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำในอารามโดยพระราชมารดา การถวายข้าพระ กัลปนาที่ดิน และสิ่งของต่าง ๆ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 3 จารึกวัดแสนข้าวห่อ (ตะจุ๊มหาเถร) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 7) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 14 บรรทัด บริเวณมุมบนของจารึกหักหายไป เนื้อหากล่าวถึง ตชุมหาเถรแห่งเมืองหริภุญไชย ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 10 องค์ ปลูกต้นมหาโพธิ์ และต้นมะพร้าว สร้างฉัตร ยอดพระไตรปิฎก คัมภีร์พระปริตต์ พร้อมที่เก็บคัมภีร์ รวมทั้งสร้างกำแพงและถวายวัว 1 คู่ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 4 จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุดหรือจามเทวีหลักที่ 2 (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 5) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 8 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญ ที่เมืองลำพูน หลักที่ 1

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ได้พบศิลาจารึกภาษามอญ 7 หลัก ที่เมืองลำพูน เดิมคืออาณาจักรหริภุญชัยในสมัยโบราณและบริเวณใกล้เคียง ดังนี้ วัดดอน (วัดดอนแก้ว) วัดกู่กุด วัดแสนข้าวห่อ วัดมหาวัน วัดบ้านหลุย (วัดบ้านหลวย) และวัดต้นแก้ว (จารึกวัดดอนแก้ว ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 4 ไม่ได้มีการแปลในบทความนี้) ปัจจุบันรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย ตัวอักษรที่ใช้จารึกภาษามอญนั้นรูปร่างของตัวอักษรมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกภาษามอญในรัชกาลของพระเจ้ากยันซิตถา ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า (พ.ศ. 1628 - 1656) แต่จารึกภาษามอญที่เมืองลำพูนจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 และใกล้เคียงกับภาษามอญในสมัยปัจจุบันมากกว่า ทั้งมีคำหลายคำที่ไม่เคยค้นพบในจารึกภาษามอญโบราณในประเทศพม่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดดอนแก้ว) จารึกจากวัดดอน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ.1) ขุดค้นพบที่วัดดอน เมื่อ พ.ศ. 2460 จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 35 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก และการผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

เนื้อบทความเป็นการย่อใจความจากเรื่องจารึกปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร (La stele du Prah Khan d’Ankor) กล่าวถึง นาย ม. แกลซ (M. Glaize) ได้ค้นพบจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ในบริเวณเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 เป็นศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลวดลายบัวอยู่บนฐาน และมีลายดอกบัวสลักอย่างคร่าว ๆ บนยอด สูง 1.85 เมตร กว้างด้านละ 58 เซนติเมตร มีจารึกอยู่ 72 บรรทัด เป็นภาษาสันสกฤต มีทั้งสิ้น 179 บท แต่งเป็นมาตราฉันท์ต่าง ๆ กัน 7 มาตรา ข้อความส่วนใหญ่กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งนโยบายการเมือง พระราชกรณียกิจ การสร้างเมืองชัยศรี การสงคราม การสร้างพระพุทธรูปและประติมากรรมอื่น ๆ การเก็บภาษี การก่อสร้างศาสนสถาน การบำเพ็ญกุศล เฉพาะอย่างยิ่งจารึกตั้งแต่บทที่ 112-116 เกี่ยวข้องกับการแผ่อานุภาพของพระองค์ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นภาคกลางของประเทศไทยหรือไม่ ในจารึกบทสุดท้ายกล่าวว่า จารึกทั้งหมดนี้ผู้ประพันธ์คือ เจ้าชายวีรกุมาร โอรสแห่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระนางราเชนทรเทวี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในต้นพุทธศตวรรษที่ 18 การศึกษาภาษาสันสกฤตในราชสำนัก ณ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา อยู่ในขั้นสูงมาก.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน

Bhattacharya, Kamaleswar

Results 1 to 10 of 86