Narratives

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

Narratives

Equivalent terms

Narratives

Associated terms

Narratives

15 Archival description results for Narratives

15 results directly related Exclude narrower terms

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยเวลานี้ มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นอีก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย และศิลปะปลายบุรพทิศ (Thai and Far Eastern Museum) เพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุยุคต่าง ๆ ในประเทศไทยและของต่างประเทศที่พบในประเทศไทย ศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา เขมร จัมปา ฯลฯ พร้อมทั้งมีห้องประชุม หอรูปสำหรับเก็บรูปถ่ายศิลปวัตถุสถาน หอสมุดและหอแผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ชาติวงศ์วรรณา (Ethnological Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมถึงชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น สำหรับบุคคลฝ่ายวิชาการควรส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศด้านโบราณคดีในหลายแขนง เพื่อจะได้กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาซ่อมของโบราณที่ขุดค้นได้ วิธีถ่ายรูปของโบราณ วิธีทำแผ่นภาพกระจก ฯลฯ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ไปประเทศเวียดนาม

ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาและศึกษาโบราณวัตถุสถานในประเทศเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 17-30 กันยายน 2525 ซึ่งได้แสดงปาฐกถาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันโบราณคดีครั้งแรกเรื่อง การค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย กล่าวถึงโบราณวัตถุสำริดซึ่งค้นพบใหม่ที่บ้านดอนตาล จังหวัดนครพนม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ปราสาทขอมที่ค้นพบใหม่ ณ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยเฉพาะการงมเครื่องถ้วยชามจากเรือที่สัตหีบ ครั้งที่ 2 เรื่องศิลปะสมัยคลาสสิคในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-24 ครั้งที่ 3 แสดงปาฐกถาที่สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับภาคเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับการตั้งรัฐไทยสมัยโบราณในประเทศไทย ครั้งที่ 4 แสดงปาฐกถาที่สถาบันสังคมศาสตร์ เรื่องการค้นคว้าทางโบราณคดีปัจจุบันในประเทศไทย นอกจากนั้นยังได้ไปชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองดานัง ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจามที่ดีที่สุด ปราสาทโพนคร หมู่บ้านจาม ปราสาทโพกลวงการาย และพิพิธภัณฑ์ Blanchard de la Brosse.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต โปรดให้รื้อตำหนักไทยของพระบิดา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มาปลูกไว้ที่วังสวนผักกาด และทรงเริ่มตกแต่งตำหนักเหล่านั้นด้วยโบราณวัตถุไทยที่พระธิดาได้ทรงรวบรวมไว้แต่ก่อน ต่อมา เสด็จในกรมฯ ได้ประทานวังสวนผักกาดให้เป็นพิพิธภัณฑ์และตั้งชื่อให้ว่า พิพิธภัณฑ์จุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยตำหนักไทยหลังแรกทางด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระพุทธรูป
คันธารราฐ เทวรูปพระอุมา รูปอรรธนารีศวร (ในบทความใช้ว่ารูปอรรธนารี) ภาพสลักบนไม้ จิตรกรรมบนไม้เรื่องพุทธประวัติสมัยอยุธยา ฯลฯ ตำหนักไทยด้านทิศใต้มีพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย เครื่องมุก เครื่องถม พัดรอง ฯลฯ หอเขียนมีภาพลายรดน้ำตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบริเวณวัง เรือนไทยทางทิศตะวันตกมีภาพเขียนสมัยปัจจุบันของศิลปินไทย เรือนไทยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยชามสมัยลพบุรีและสมัยก่อนประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหิษมรรททินี

การประชุมสภาศึกษาวัฒนธรรมทมิฬระหว่างชาติ ครั้งที่ 2 (Second International Congress of Tamil Studies) ณ เมืองมาดราส ประเทศอินเดีย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-8 ม.ค. 2511 ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษพร้อมฉายภาพนิ่งประกอบเรื่อง มหิษมรรททินีในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปมหิษมรรททินี (Mahisa – marddini) หรือมหิษาสุรมรรทินี (Mahisasuramardini) ที่พบในประเทศไทยรูปนี้ เป็นประติมากรรมศิลาสูงทั้งเดือย 1.60 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ลักษณะเป็นภาพสลักนูนสูงรูปพระอุมาหรือนางทุรคา 4 กร ประทับยืนอยู่บนศีรษะควาย กล่าวได้ว่าได้รับแบบมาจากประเทศอินเดีย สมัยราชวงศ์ปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ประติมากรรมแบบนี้จัดว่าเก่าที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ได้ถึงแก่กรรมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สิริรวมอายุได้ 83 ปี ได้เข้ารับราชการในประเทศไทย 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 – 2472 ประวัติการทำงานของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้บันทึกไว้ในคำนำหนังสือ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้งการฟังเรื่องราวมาจากศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และจากประสบการณ์ของหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM

องค์การหรือสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ มีชื่อย่อว่า ICOM ย่อมาจากคำว่า International Council of Museums ประกอบด้วยสมาชิกจากชนชาติต่าง ๆ หลายชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2489 ICOM เป็นองค์การฝ่ายวิชาการในแผนกพิพิธภัณฑ์ของ Unesco ซึ่งมีกติกา (Constitution) และบทบัญญัติ ( by law) วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ มีประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิกกว่า 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย การประชุมของ ICOM ทุกคราวเป็นการรายงานกิจการพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศของตน ให้ประเทศที่เป็นสมาชิกทราบ การประชุมแต่ละคราวแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ ผู้แทนประเทศใดจะเข้าประชุมในแผนกที่ตรงกับวิชาและกิจการของตนก็ได้ เมื่อประชุมแผนกเสร็จแล้วถ้าเป็นเรื่องสำคัญก็มักจะมาพูดในการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งและมีมติหลังการประชุมทุกคราว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี--เสด็จไปมหาวิทยาลัย ท่านทรงพกขนมไปด้วย

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เกี่ยวกับการเรียนระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร และพระนิพนธ์หนังสือเรื่อง ชมช่อมาลตี และบุหงารำไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 15