Showing 216 results

Archival description
บทความ With digital objects
Print preview View:

บทความ

  • TH Subhadradis 02 ACAR
  • Fonds
  • 2494 - 2546

ทรงนิพนธ์ ทรงแปลเรียบเรียง ที่จัดพิมพ์ในวารสาร นิตยสาร จุลสาร และหนังสือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย

วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การซ่อมปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย เป็นปราสาทสำคัญแห่งแรกที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาในระยะนี้ การซ่อมปราสาทหินพิมายด้วยวิธีอะนัสติโลซิส (Anastylosis) ทำให้ได้ขุดค้นพบทับหลังศิลาหลายชิ้น ทับหลังชิ้นที่1 อยู่บนลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก แสดงภาพพระพุทธรูปหลายองค์ทรงเครื่องประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรียงต่อกันไปแสดงปางวิตรรกะ (แสดงธรรม) อาจสลักขึ้นก่อน พ.ศ. 1650 เล็กน้อย ทับหลังชิ้นที่2 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ด้านบนเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ด้านล่างเป็นภาพนางอัปสรกำลังฟ้อนรำ ทับหลังชิ้นที่3 อยู่ในลานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ด้านบนสลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเรียงเป็นแถวอยู่ภายในซุ้ม องค์กลางใหญ่กว่าองค์ด้านข้างเล็กน้อย ใต้องค์กลางมีสิงห์กำลังแบกอยู่ สองข้างของสิงห์ตัวกลางมีสิงห์อีกข้างละตัว อาจสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ทับหลังชั้นที่4 เดิมอาจอยู่ในประตูซุ้มด้านทิศตะวันออก ตรงกลางสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิสำเร็จเพียงครึ่งองค์ ประทับบนบัลลังก์ที่มีหงส์กำลังแบกอยู่ ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอีก 4 องค์ คงสลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 ส่วนภาพสลักบนทับหลังของปราสาทองค์กลางบนมุขทิศตะวันออก มีภาพสลักเป็นบุรุษทำท่ากำลังจะฆ่ายักษ์อยู่กลางทับหลัง และมีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์บนหน้าบันด้านนี้ มุขด้านตะวันออกมีทับหลังเป็นภาพเทวดาหรือกษัตริย์ประทับนั่งอยู่ในเรือที่มีฝีพายหลายคน หน้าบันสลักเป็นภาพพระอิศวรและพระ อุมาทรงโคนนทิ มุขด้านใต้มีหน้าบันสลักเป็นภาพพระศิวนาฎราช มุขด้านตะวันตกมีทับหลังสลักเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์แต่ยังสลักไม่สำเร็จ ทับหลังหลายชิ้นในบริเวณปราสาทหินพิมาย แสดงภาพบุคคลนุ่งผ้าในตอนปลายศิลปะแบบบาปวน และศิลปะแบบนครวัด อาจกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายนี้คงสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1625-1675.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การนำศิลปวัตถุไทยไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา

ศิลปวัตถุที่ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพฯ และพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตร พิพิธภัณฑสถานที่จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและลำพูน รวมทั้งศิลปวัตถุบางชิ้นของเอกชน แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ ศิลปะแบบทวารวดี 29 ชิ้น แบบ เทวรูปรุ่นเก่า 3 ชิ้น แบบศรีวิชัย 7 ชิ้น แบบลพบุรี 52 ชิ้น แบบเชียงแสน 27 ชิ้น สุโขทัย 40 ชิ้น อู่ทอง 5 ชิ้น อยุธยา 69 ชิ้น นครศรีธรรมราช 1 ชิ้น รัตนโกสินทร์ 101 ชิ้น รวมทั้งหมด 334 ชิ้น โดยที่เป็นการตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับพิพิธภัณฑสถานและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา 8 แห่ง เพื่อนำศิลปกรรมไทยไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียน่า ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2503.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การบูรณะโบราณสถานที่เขาสีคิริยะ ประเทศศรีลังกา

เขาสีคิริยะ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะลังกา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา พระเจ้ากัสสปซึ่งขึ้นครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1020 – 1038 ได้ย้ายราชธานีมาตั้งที่นี่และก่อสร้างอาคารด้วยอิฐเป็นอันมาก รวมทั้งสร้างพระราชวังสองชั้นลดหลั่นกันอยู่เหนือยอดเขา ตรงกลางมีภาพเขียนรูปนางอัปสรเป็นคู่ ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 15 รูปเท่านั้น กรมโบราณคดีและเจ้าหน้าที่โครงการสามเหลี่ยมวัฒนธรรมยูเนสโก - ศรีลังกา ดำเนินการบูรณะโบราณสถานโดยการขุดค้น การบำรุงรักษา การปรับปรุงและตกแต่งบริเวณสถานที่ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและบริการสนับสนุน การดูแลและออกกฎควบคุมการพัฒนาในบริเวณใกล้เคียง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2525-2529 แต่ไม่สามารถกระทำได้ จึงต่อเวลาออกไปคาดว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2534.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ ทุก ๒ ปี ครั้งที่ ๒ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

การประชุมสภาระหว่างชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ หรือ International Council of Museums (ICOM) ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 17-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ผู้เขียนเป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าประชุมในแผนกพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งพิจารณาปัญหาสำคัญต่าง ๆ เช่น เรื่องพิพิธภัณฑ์ในโบราณสถาน การแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชาติของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และการขุดค้นทางโบราณคดี การใช้แสงไฟฟ้าในพิพิธภัณฑ์ หนทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์และประชาชนที่พิพิธภัณฑ์นั้นรับใช้ การป้องกันอัคคีภัยในพิพิธภัณฑ์ ความร่วมมือกันในการจัดแสดงศิลปะระหว่างชาติ แผนการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ สเกลแสดงถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ นอกจากนั้น UNESCO ยังเสนอให้ประเทศสมาชิกส่งภาพศิลปวัตถุสถานต่าง ๆ ของตนมายัง UNESCO สิ่งละ 4 ภาพ เพื่อแบ่งแยกเก็บไว้ในประเทศต่าง ๆ 4 ประเทศ ในอนาคตถ้าตัวศิลปวัตถุสถานถูกทำลายไปในสงครามจะได้มีภาพเก็บไว้ให้ดูได้ต่อไป.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

กำหนดอายุปราสาทพนมรุ้ง

การขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ทำให้พบข้อมูลที่อาจกำหนดอายุสมัยของปราสาทแห่งนี้ได้ราว 5 สมัย คือนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ที่ 18 สิ่งก่อสร้างสำคัญที่กำหนดอายุได้เก่าที่สุดลงมาจนถึงใหม่สุดได้แก่ ปรางค์อิฐสององค์ ปรางค์น้อย ปรางค์องค์ใหญ่และระเบียงที่ล้อมรอบ ทางเดินและสะพานนาคและวิหารสองหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 216