Showing 27 results

Archival description
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Print preview View:

27 results with digital objects Show results with digital objects

การนำศิลปวัตถุไทยไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา

ศิลปวัตถุที่ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพฯ และพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตร พิพิธภัณฑสถานที่จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและลำพูน รวมทั้งศิลปวัตถุบางชิ้นของเอกชน แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ ศิลปะแบบทวารวดี 29 ชิ้น แบบ เทวรูปรุ่นเก่า 3 ชิ้น แบบศรีวิชัย 7 ชิ้น แบบลพบุรี 52 ชิ้น แบบเชียงแสน 27 ชิ้น สุโขทัย 40 ชิ้น อู่ทอง 5 ชิ้น อยุธยา 69 ชิ้น นครศรีธรรมราช 1 ชิ้น รัตนโกสินทร์ 101 ชิ้น รวมทั้งหมด 334 ชิ้น โดยที่เป็นการตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับพิพิธภัณฑสถานและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา 8 แห่ง เพื่อนำศิลปกรรมไทยไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียน่า ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2503.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ใบเสมาสลักเล่าเรื่องสมัยลพบุรีในพิพิธภัณฑสถานฯ

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ห้องลพบุรี มีใบเสมาศิลาสมัยลพบุรี ซึ่งมีภาพสลักประกอบอยู่ 3 แผ่น
ใบแรกสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สลักด้วยศิลาทรายสีชมพู สูง 119 ซม. กว้าง 65 ซม. และหนา 46 ซม. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2475 ด้านหน้าสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีนาค 7 เศียรอยู่ดหนือพระเศียรของพุทธรูป และมีขนาดนาค 3 ชั้น อยู่เบื้องล่าง ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปบุรุษและสตรียืนอยู่ภายในวงโค้งซึ่งสลักเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อศิลา ด้านหลังคือด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปนาคปรก สลักเป็นรูปบุรุษ 8 กร ยืนอยู่ภายในซุ้ม ซึ่งด้านบนสลักเป็นขอบซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นบนมีส่วนกลางแหลม ยืนเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งมีเกสรบัวประกอบ มีพระพุทธรูป 2 องค์ ปางสมาธิขนาดเล็กอยู่ภายในซุ้มเบื้องบนของศีรษะ ด้านข้างซ้ายของพระพุทธรูปสลักรูปบุรุษและสตรียืนซ้อนกันอยู่ภายในซุ้ม วงส่วนยอดประกอบด้วยวงโค้ง 3 วง ดังในภาพสลักด้านข้างด้านขวา รูปบุรุษด้านบนคงเป็นรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีอย่างแน่นอน
ใบเสมาสลักภาพอีก 2 แผ่น มาจากศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี สลักขึ้นในสมัยลพบุรี โดยใช้หินปูนสีเทาซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยทวารวดี
ใบเสมาแผ่นที่ 2 สูง 96.5 ซม. กว้าง 46 ซม. ความหนารวมฐานด้านหน้า 44.5 ซม. สลักเป็นรูปพระพรหมกำลังยืนอยู่ภายในซุ้ม ซุ้มมีลักษณะคล้ายกับซุ้มเหนือพระพุทธรูปนาคปรกในใบเสมาแผ่นที่ 1 แต่มีลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น คือภายในแบ่งเป็นแนว 3 แนวแทนที่จะเป็นพื้นเรียบดังแต่ก่อน ใบระกาเหนือซุ้มเพิ่มขึ้นเป็น 13 ใบ แทนที่จะเป็น 11 ใบ และทุกใบประกอบด้วยขอบเป็นเส้นคู่แทนที่จะมีแต่เพียงบนใบกลางเพียงใบเดียว ลายที่มุมเหนือบัวหัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คงกลายมาจากเศียรนาคที่หันหัวออกคายพวงอุบะ ภายในมีพระพรหมกำลังยืนอยู่ แลเห็นพักตร์เพียง 2 พักตร์
ใบเสมาแผ่นที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับใบเสมาสลักรูปพระพรหมมาก สูง 103 ซม. กว้าง 42 ซม. และหนา 30 ซม. สลักเป็นรูปเทพธิดา 2 องค์ ยืนอยู่ภายในซุ้ม ลักษณะซุ้มเหมือนกับซุ้มเหนือพระพรหม แต่ใบระกาจำนวนลงเหลือเพียง 11 ใบ ไม่มีขอบเป็นเส้นคู่ แต่มีเส้นนูนอยู่ตรงกลางทุกใบ ลวดลายที่ขอบซุ้มเหนือหัวบัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลายมาจากลายเศียรนาคหันหัวออกคายพวงอุบะ เทพธิดา 2 องค์นี้แสดงให้เห็นว่าสลักขึ้นตรงกับศิลปขอมสมัยบาปวนตอนปลาย (ราว พ.ส. 1600-1650) คือมีเกศาเป็นเกศาถักรวบเป็นมวยมีรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่เหนือเศียร และมีลูกประคำอยู่ที่เชิงมวย มีไรพระศกและพระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบจากเมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ บางท่านเรียกว่า เมืองอภัยสาลี เดิมตั้งอยู่ในอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงค้นพบเมืองนี้เมื่อ พ.ศ. 2448 ประติมากรรมศิลาที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ต่อมาพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก แสดงว่าอาณาจักรเจนละหรือขอมรุ่นแรกในขณะนั้นได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงยังลุ่มแม่น้ำป่าสักแล้ว โบราณวัตถุซึ่งถูกลักลอบออกไปจากเมืองศรีเทพ 3 ชิ้น และปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน (Norton Simon Museum of Art) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ 1) เทวรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.14 เมตร คาดว่าเป็นพระอาทิตย์และเป็นชิ้นที่สำคัญที่สุด 2) แผ่นทอง สูงประมาณ 30 ซม. ดุนเป็นเทวรูปพระนารายณ์ 3) พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สลักด้วยศิลาทรายสีเทา สูงประมาณ 2.18 เมตร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณศิลปวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทย

โบราณวัตถุที่ถูกลักลอบออกนอกประเทศไทยและปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนประเทศสหรัฐอเมริกาจากหนังสือเรื่อง The Ideal Image, the Gupta Sculptural Tradition and Its Influence แต่งโดย Pratapaditya Pal ได้แก่ 1) พระพุทธรูปสำริดปางทรงแสดงธรรม สูงประมาณ 5 เซนติเมตร คล้ายกับศิลปะทวารวดี 2) เทพธิดาศิลาทราย (เทวสตรี) 4 กร สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คล้ายกับเทวรูปที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 3) พระพุทธรูปศิลาทราย สูงประมาณ 1.10 เมตร สมัยทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 4) พระพิมพ์ดินเผา สูงประมาณ 12 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 5) พระอิศวรศิลา สูงประมาณ 70 เซนติเมตร กล่าวว่าได้มาจากเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 6) แผ่นทองดุนนูนรูปพระอิศวร สูงประมาณ 17 เซนติเมตร อาจพบที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 7) แผ่นเงินดุนนูนรูปพระพุทธองค์ สูงประมาณ 14 เซนติเมตร คล้ายกับที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 8) พระพุทธรูปสำริด ยืนตริภังค์ สูงประมาณ 51 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 9) พระพุทธรูปสำริด สูงประมาณ 22 เซนติเมตร จัดอยู่ในศิลปะทวารวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 10) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ 44 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกับที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 11) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูงประมาณ 1.20 เมตร ลักษณะคล้ายกับศิลปะขอม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 โดยบทความนี้หวังว่าให้คนไทยมีความกระตือรือร้นในการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานของเราให้มากยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นาคปรก ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย

พระพุทธรูปนาคปรก สำริด ปางมารวิชัย สมัยศรีวิชัย จากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่งามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากในสมัยศรีวิชัยนั้น พุทธศาสนาลัทธิมหายานกำลังแพร่หลายอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย และการสร้างเป็นปางมารวิชัยแทนปางทรงแสดงสมาธิก็ไม่น่าจะผิดอะไร คงเพื่อแสดงถึงความหมายของบรรดาสัปดาห์ต่างๆ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญสมาธิภายหลังการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จากความสำคัญของพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวจึงมีการสร้างพระบูชา พระกริ่ง เหรียญ หรือพระผง พระพุทธรูปขึ้นถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพครบ 3 รอบ และทรงมีพระประสูติกาลในวันเสาร์ รวมทั้งเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเป็นการสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในการนำไปช่วยเหลือการศึกษาแก่เยาวชนในประเทศไทย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 27