ศิลปะในประเทศไทย
- TH Subhadradis 01 BK-01-33
- Series
- 2506-2550
Part of หนังสือ
หนังสือเล่มนี้ถือเป็นตำราด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยที่ใช้ในการสอนระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่งและได้รับการอ้างอิงเสมอ และได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลทรงใช้ข้อมูลจากหนังสือของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ และศาสตราจารย์ฌ็อง บวสเซอลิเยร์ในการเรียบเรียง
เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ เป็นการแนะนำศิลปะในประเทศไทยตามยุคสมัย ตั้งแต่วัตถุรุ่นเก่าที่ค้นพบในประเทศไทย ศิลปะทวารดี เทวรูปรุ่นเก่า ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะเชียงแสน ศิลปะอยุธยาและศิลปะรัตนโกสินทร์
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศิลปะในประเทศไทย
- TH Subhadradis 01 BK-01-33-002
- Item
- 2550
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
สถานที่น่าศึกษาในสี่ภาคของประเทศไทย
- TH Subhadradis 01 BK-01-34
- Series
- 2516
Part of หนังสือ
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงข้อมูลสถานที่น่าสนใจในสี่ภาคของประเทศไทย เพื่อประกอบเป็นเนื้อหาในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นางจิตติมา (ไคล) ชมุนี ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 28 พฤษภาคม 2516 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถานและวัดที่สำคัญในภาคเหนือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
สมุดคู่มือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- TH Subhadradis 01 BK-01-35
- Series
- 2504-2505
Part of หนังสือ
ใน พ.ศ.2505 กรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กรมศิลปากรจึงได้ทูลขอให้ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงหนังสือนำชมขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในวโรกาสเสด็จฯมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ ต่อมาได้ทรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษในวโรกาสที่สมเด็จพระราชินีนาถแห่งประเทศเดนมาร์คเสด็จฯ มาชมพิพิธภัณฑ์ด้วย
หนังสือเล่มนี้นำชมโบราณวัตถุในตู้จัดแสดงเมื่อ พ.ศ. 2505 (ซึ่งแตกต่างจากการจัดแสดงในปัจจุบัน) นอกจากการเล่าถึงการค้นพบกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะซึ่งเป็นที่มาของการสร้างพิพิธภัณฑ์และพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แล้ว ยังมีการนำชมศิลปกรรมของโบราณวัตถุแต่ละชิ้นทั้งที่ค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะและที่นำมาจากแหล่งอื่น
หนังสือเล่มนี้นำชมโบราณวัตถุในตู้จัดแสดงตามการจัดแสดงใน พ.ศ. 2505 (ซึ่งแตกต่างจากการจัดแสดงในปัจจุบัน) นอกจากการเล่าถึงการค้นพบกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะซึ่งเป็นที่มาของการสร้างพิพิธภัณฑ์และพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แล้ว ยังมีการนำชมศิลปกรรมของโบราณวัตถุแต่ละชิ้นทั้งที่ค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะและที่นำมาจากแหล่งอื่น
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
- TH Subhadradis 01 BK-01-36
- Series
- 2511
Part of หนังสือ
ในพ.ศ. 2509 คณะโบราณคดีได้ตีพิมพ์วารสาร “โบราณคดี” ฉบับปฐมฤกษ์ โดยได้รวบรวมบทความจากคณาจารย์คณะโบราณคดีหลายท่าน ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งคณบดีในขณะนั้นก็ได้ทรงเขียนบทความเรื่องนี้ลงในวารสารด้วย โดยเนื้อหาหลักของบทความได้แก่การแบ่งหลักฐานทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ออกเป็น 3 ประเภท คือ หลักฐานอันดับ 1 ที่สร้างขึ้นหรือแต่งขึ้นร่วมสมัยเหตุการณ์ หลักฐานอันดับ 2 หรือหลักฐานที่สร้างขึ้นหรือแต่งขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นล่วงไปแล้ว และหลักฐานอันดับ 3 คือ หนังสือที่เขียนขึ้นในปัจจุบัน
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล