Identity area
Reference code
Title
Date(s)
- 2506-2550 (Creation)
Level of description
Series
Extent and medium
หนังสือ จำนวน 2 เล่ม
Context area
Name of creator
Biographical history
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้ารมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเจิม ดิศกุล ประสูติเมื่อวันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน 2466 จนเมื่อพระชันษาได้ 1 เดือน หม่อมเจิมจึงได้ถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ตามที่ได้ทรงเคยขอไว้ตั้งแต่ที่หม่อมเจิมมีครรภ์ กระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา สิ้นพระชนม์ลง จึงกลับมาประทับที่วังวรดิศตามเดิมเมื่อพระชันษาได้ 11 ปี
ด้านการศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาด้านอักษรศาสตร์จากจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2486 จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ทรงได้รับทุนจากบริติชเคาน์ซิลให้เสด็จไปทอดพระเนตรงานด้านการพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี ณ ประเทศอังกฤษ แล้วจึงตั้งพระทัยที่จะศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีที่โรงเรียนลูฟ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และจะทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ แต่ยังมิทันสำเร็จก็มีเหตุให้เสด็จกลับเมืองไทยก่อน ในปี พ.ศ.2496
ภายหลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว ทรงเข้าทำงานในกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และย้ายไปเป็นหัวหน้าแผนกหอสมุดดำรงราชานุภาพ สังกัดกรมศิลปากร จนกระทั่งทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและเสด็จกลับไทยแล้ว ก็ยังทรงปฏิบัติงานในกรมศิลปากรอยู่ แต่ย้ายมาประจำตำแหน่งภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้มักจะทรงเป็นวิทยากร ถวายการนำชม และทรงนำชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยแด่แขกคนสำคัญของบ้านเมือง ทั้งพระประมุขและประมุขของชาติต่าง ๆ ที่มาเยือนประเทศไทยโดยตลอด
ระหว่างที่ทรงเป็นภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก็ทรงสอนนักศึกษาของคณะโบราณคดี และ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย โดยทรงวางรากฐานการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยหลักสูตรการศึกษาเป็นเช่นเดียวกับที่ทรงได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ ทรงนิพนธ์ตำราทางวิชาการ หนังสือนำชม หนังสือทรงแปลจากภาษาต่างประเทศ หนังสือที่ทรงชำระใหม่ หนังสือรวมบทความ บทความวิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ต่อมาภายหลังจึงทรงโอนย้ายมาเป็นศาสตราจารย์ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งทั้งทางด้านบริหาร จนเกษียณอายุราชการในปี 2529 นอกจากนี้ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPAFA และ คณะกรรมการต่าง ๆ ของกรมศิลปากรอยู่ตลอด
ภายหลังจากที่ทรงเกษียณอายุราชการแล้วและประชวรด้วยโรคพระหทัย ซึ่งทรงได้รับการผ่าตัดแล้ว แต่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ยังทรงทำงานอยู่เรื่อยมา ทั้งงานสอนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และการเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี ตามปรกติ กระทั่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทรงลื่นล้มในห้องสรง และประชวรทรุดลงตามลำดับ จนสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สิริพระชันษาได้ 80 ปี
Archival history
Immediate source of acquisition or transfer
Content and structure area
Scope and content
หนังสือเล่มนี้ถือเป็นตำราด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยที่ใช้ในการสอนระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่งและได้รับการอ้างอิงเสมอ และได้รับการตีพิมพ์หลายครั้ง ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลทรงใช้ข้อมูลจากหนังสือของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ และศาสตราจารย์ฌ็อง บวสเซอลิเยร์ในการเรียบเรียง
เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ เป็นการแนะนำศิลปะในประเทศไทยตามยุคสมัย ตั้งแต่วัตถุรุ่นเก่าที่ค้นพบในประเทศไทย ศิลปะทวารดี เทวรูปรุ่นเก่า ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะเชียงแสน ศิลปะอยุธยาและศิลปะรัตนโกสินทร์
Appraisal, destruction and scheduling
Accruals
System of arrangement
Conditions of access and use area
Conditions governing access
Conditions governing reproduction
Language of material
Script of material
Language and script notes
Physical characteristics and technical requirements
Finding aids
Allied materials area
Existence and location of originals
Existence and location of copies
Related units of description
Publication note
พิมพ์ 15 ครั้ง ดังนี้ คือ
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ 2506 ใช้ชื่อเรื่อง "คำบรรยายเรื่องศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ 2512 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ 2513 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ 2514 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ 2518 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ 2522 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ 2524 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ 2528 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 9 พ.ศ 2534 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปะในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 10 พ.ศ 2538 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปะในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 11 พ.ศ 2539 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปะในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ 2546 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปะในประเทศไทย"
พิมพ์ครั้งที่ 13 พ.ศ 2550 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปะในประเทศไทย"
ไม่ระบุครั้งที่พิมพ์ พ.ศ. 2507 ใช้ชื่อเรื่อง "ภาพประกอบคำบรรยายวิชาศิลปกรรมในอดีตและปัจจุบัน ตอนที่ 5 ศิลปในประเทศไทย"
ไม่ระบุครั้งที่พิมพ์ พ.ศ. 2522 ใช้ชื่อเรื่อง "ศิลปในประเทศไทย บปศ 20"
Notes area
Alternative identifier(s)
Access points
Subject access points
Place access points
Name access points
Genre access points
Description control area
Description identifier
Institution identifier
Rules and/or conventions used
Status
Level of detail
Dates of creation revision deletion
Language(s)
Script(s)
Sources
Archivist's note
ผู้จัดทำคำอธิบายเอกสาร คือ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี และฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร