Showing 8 results

Archival description
ปราสาทตาแก้ว (กัมพูชา)
Print preview View:

8 results with digital objects Show results with digital objects

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 8]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล