อายุของภาพสลักนูนต่ำรุ่นหลัง 2 ภาพที่ปราสาทนครวัด
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-095
- Item
- 2507
Part of บทความ
ที่ผนังระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดนั้นมีภาพสลักทั้งหมด 8 ภาพ โดยมี 2 ภาพที่สลักบนปีกเหนือของระเบียงด้านตะวันออก แสดงการรบพุ่งระหว่างพระนารายณ์และอสูร กับที่สลักอยู่บนปีกตะวันออกของระเบียงด้านเหนือแสดงรูปพระกฤษณะรบชนะพระเจ้ากรุงพาณ อาจสลักขึ้นหลังการก่อสร้างปราสาทนครวัด และหลังกว่าภาพสลักนูนต่ำอีก 6 ภาพ โดยทั้ง 2 ภาพมีศักราชจารึกอยู่ใต้ภาพระบุว่า ใน พ.ศ. 2089 พระราชาเขมรพระนามว่า นักองค์จันท์ได้เป็นผู้สั่งให้สลักภาพบนระเบียงชั้นนอกของปราสาทนครวัดให้แล้วสำเร็จ ซึ่งสำเร็จลงใน พ.ศ. 2106 และภาพสลักทั้ง 2 ภาพนี้ มีอิทธิพลของศิลปะจีนอยู่บ้าง แต่อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากศิลปะไทย เพราะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างรูปเทวดาบางองค์บนภาพสลักนี้กับรูปเทวดาในหนังสือตำนานเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ของไทย รวมทั้งฆ้องวง เครื่องประดับ ลวดลายดอกไม้ภายในเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายรูปกินรีแบบไทยและฉัตร ซึ่งทั้งหมดนี้มีอยู่ในศิลปะอยุธยาของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 1975.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอม
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-084
- Item
- 2532
Part of บทความ
ศิลปะสมัยก่อนเมืองพระนครของขอมปรากฏหลักฐานให้เห็นทั้งในงานสถาปัตยกรรมในศาสนาและประติมากรรม โดยในกลุ่มประติมากรรมยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธรูป ทั้งนี้ การที่ศิลปกรรมสมัยก่อนเมืองพระนครปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่านั้น เนื่องจากในสมัยโบราณ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมไปถึงพระราชวัง สร้างด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ต่างจากการสร้างศาสนสถานและประติมากรรมในศาสนา นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ศิลปะขอมได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย และต่อมามีการพัฒนารูปแบบเป็นของตนเอง โดยเฉพาะประติมากรรม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 9]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-078
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระขันธกุมาร ในอาณาจักรขอมไม่พบว่ามีการบูชาอย่างแพร่หลาย มีจารึกและประติมากรรมอยู่เล็กน้อย เป็นรูปพระขันธกุมารมี 2 กร ประทับนั่งเหนือนกยูงและพระกรยึดคอนกยูงอยู่ เทวดาผู้รักษาทิศและเทวดานพเคราะห์ เทวดาผู้รักษาทิศมีจำนวนแตกต่างกันไป มีจำนวน 8 องค์หรือ 10 องค์ สลักเป็นภาพนูนต่ำประจำทิศของอาคาร ชื่อผู้รักษาทิศจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามคัมภีร์สำหรับเทวดานพเคราะห์ ประกอบด้วยเทพ 9 องค์ ตามลำดับคือพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพผู้รักษาทิศ 5 องค์ พระราหู และพระเกตุ มารดา 7 องค์ พบเป็นภาพสลักบนทับหลังแต่ไม่ปรากฏในจารึก คือ รูปนางจามุณฑา นางไอนทรี นางวาราหิ นางไวษณวี นางเกามารี นางมเหศวร และนางพราหมี พระวิศวกรรม พระอินทร์ และพระอัคนี ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระวิศวกรรมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรก และมีการบูชาอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นการบูชาในฐานะช่างของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่นเดียวกับพระอินทร์ด้วย แต่พระอัคนีพบประติมากรรมเพียงองค์เดียว
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 8]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-077
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 7]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-076
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) รูปแบบประติมานวิทยาของพระนารายณ์ที่พบในอาณาจักรขอม ยังมีรูปพระนารายณ์ปางตรีวิกรม หรือตรีบาท พบในภาพเขียนและภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น ในส่วนปราสาทนครวัดมีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามตามเรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ อย่างไรก็ตามการอวตารเป็นพระกฤษณะดูจะสำคัญที่สุด และยังปรากฎรูปวราหาวตาร นรสิงหาวตาร และกูรมาวตาร ซึ่งการบูชาพระนารายณ์ในปางต่างๆแพร่หลายมากในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นอกจากเทวรูปมีการสร้างพระวิษณุบาทเป็นสัญลักษณ์ด้วย พระนารายณ์มีศักติคือพระศรีหรือพระลักษมีและพระเทวีหรือพระอุมา และมีการสร้างรูปของพระชายาทั้งสององค์ จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ซึ่งดินแดนแถบมธุราก็ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาณาจักรขอมด้วย
Bhattacharya, Kamaleswar
ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 6]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-075
- Item
- 2515
Part of บทความ
แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) แต่เดิมในอินเดีย ลัทธิไวษณพนิกายเชื่อว่าพระวาสุเทพเป็นเทวดาสูงสุด ต่อมาในสมัยราชวงศ์คุปตะจึงเปรียบเทียบพระวาสุเทพ หรือพระกฤษณะคือพระนารายณ์ ซึ่งในช่วงนี้เองที่ส่งอิทธิพลไปยังอาณาจักรขอม ชื่อของพระนารายณ์ปรากฏในคัมภีร์และจารึกต่าง ๆ โดยมีการเรียกนามแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละนามแสดงถึงปรัชญาที่คล้ายคลึงกับลัทธิไศวนิกาย พระนารายณ์คือพระพรหมันสูงสุด สิ่งมีชีวิตเบื้องต้น และสิ่งมีชีวิตที่สูงสุด เป็นเทพทั้งสามที่ออกมาเป็นต้นเหตุแห่งการเกิด การักษา และการทำลายของจักรวาล ในส่วนประติมานานวิทยาของพระนารายณ์เกี่ยวข้องกับการอวตารซึ่งมีถึง 39 ปาง เทวรูปนายรายณ์แสดงเป็นเทวรูป 8 กร หรือ 4 กร พระหัตถ์ทั้งถือสิ่งของต่าง ๆ รูปพระนารายณ์แสดงปางกวนเกษียรสมุทร รูปพระนารายณ์ทรงครุฑซึ่งอาจอยู่พร้อมกับพระศรีและพระภูมิพระชายาของพระนารายณ์ และรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
Bhattacharya, Kamaleswar
พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-056
- Item
- 2513
Part of บทความ
มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-046
- Item
- 2513
Part of บทความ
ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 15]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-045
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม อันได้แก่กระดิ่งที่ใช้ในพิธีกรรม คันฉ่อง ฐาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเครื่องประดับประติมากรรม อาวุธที่ถอดได้และลวดลายขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ประกอบยานพาหนะและที่นั่ง ยอดธง กระดึงและเครื่องดนตรีสำหรับตี วัตถุเครื่องใช้สอบ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม.
Boisselier, Jean
ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]
- TH Subhadradis 02 ACAR-02-044
- Item
- 2512
Part of บทความ
บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.
Boisselier, Jean