ศิลปกรรม -- อินเดีย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย

Equivalent terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย

Associated terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย

39 Archival description results for ศิลปกรรม -- อินเดีย

39 results directly related Exclude narrower terms

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 9]

จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 3 และ 4.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 8]

จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 1 และ 2.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 7]

ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 4 กลุ่ม ได้แก่ ทรงผมสตรี เครื่องแต่งกาย เข็มขัด และลวดลายเครื่องประดับต่าง ๆ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 6]

ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 2 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องประดับ ทรงผม โดยในกลุ่มเครื่องประดับ ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 4 กลุ่ม คือ สร้อยคอที่ห้อยตกลงมาระหว่างถัน ถุงเท้าและกำไลเท้า และสร้อยคอซึ่งพาดอยู่บนบ่า ส่วนทรงผมนั้น ในบทความนี้กล่าวถึง ทรงผมบุรุษ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 5]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยมีลวดลายกลุ่มหนึ่งในศิลปะอมราวดีที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด โดยในบทความนี้กล่าวถึง บัลลังก์ และกุฑุ ทั้งนี้ในส่วนของภาพบัลลังก์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) บัลลังก์ไม่มีลายรูปสัตว์และไม่มีลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด และ 2) บัลลังก์ที่มีลายหัวมกร สิงห์ และลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด ส่วนกุฑุ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1) กุฑุที่มีรูปทรงเหมือนกับที่ภารหุต แสดงวงโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง 2) กุฑุที่มีรูปวงโค้งเกือกม้า มีลักษณะคล้ายกับกุฑุในศิลปะคุปตะ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 4]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน และมกร
สำหรับลายวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน มีพัฒนาการสำคัญคือ ลายดอกบัวซึ่งมองเห็นทางด้านข้างที่มุม จำนวนแถวกลีบที่มีเพิ่มขึ้น ลายก้านขดแบบต่าง ๆ และลายใบไม้ซึ่งในยุคแรกเป็นลายใบไม้แบบคดโค้ง และในยุคถัดมานิยมลายใบไม้เป็นขอเข้ามาแทนที่ ส่วนรูปมกรนั้น ยุคแรกแสดงลักษณะที่ผสมกันระหว่างจระเข้และปลาอย่างชัดเจน แต่ต่อมาช่างลดทอนลักษณะดังกล่าว และแสดงความเคลื่อนไหวยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 2]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงรูปรั้วจำลอง และรูปประตู (โตรณะ) จำลอง
ลักษณะของรูปรั้วจำลองในยุคต้นแสดงถึงโครงสร้างของรั้วที่นิยมทำในยุคนั้นคือ ประกอบด้วยเสาและลูกกรงนอน แต่ในสมัยหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เริ่มหายไป และมีลวดลายอื่น ๆ ประดับเข้ามาแทนที่
ส่วนประตู (โตรณะ) จำลอง นั้น รูปแบบในยุคแรกยังคงองค์ประกอบประตูแบบที่อยู่ด้านหน้าของสถูปสาญจีหมายเลข 1 และ 3 คือประกอบด้วย เสา 1 คู่ ด้านบนเป็นวงโค้ง 3 ท่อนพาดบนเสา ในสมัยต่อมา ช่างปรับเปลี่ยนรูปแบบประตูโดยลดหรือปรับรูปทรงขององค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น และมีการประดับลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 1]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ
ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ คือ สถูป พัฒนาการสำคัญคือ ลวดลายเครื่องตกแต่งที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และสัญลักษณ์มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในชั้นแรก สถูปแสดงถึงสถานที่เคารพบูชา หรือสัญลักษณ์แสดงถึงตอนหนึ่งในพุทธประวัติ แต่ต่อมาสถูปมีความสำคัญเท่ากับองค์พระพุทธเจ้าเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 12]

ช่วงต้นของบทความกล่าวถึงพุทธประติมากรรมและจิตรกรรมในศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งได้รับอิทธิพลอินเดียและส่งอิทธิพลไปถึงศิลปะญี่ปุ่น ในช่วงกลางกล่าวถึงศิลปะญี่ปุ่นทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม เช่นที่วัดโฮริวจิ ในช่วงท้ายของบทความพูดถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งซึ่งจิตรกรรมโดดเด่นกว่าประติมากรรม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 39