ศิลปกรรม -- อิทธิพลโรมัน

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรม -- อิทธิพลโรมัน

Equivalent terms

ศิลปกรรม -- อิทธิพลโรมัน

Associated terms

ศิลปกรรม -- อิทธิพลโรมัน

2 Archival description results for ศิลปกรรม -- อิทธิพลโรมัน

2 results directly related Exclude narrower terms

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 5]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล