ศิลปสุโขทัย (Sukhothai art, L'art de Sukhothai)
- TH Subhadradis 01 BK-01-29-001
- Item
- 2521
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
4 results directly related Exclude narrower terms
ศิลปสุโขทัย (Sukhothai art, L'art de Sukhothai)
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์
Part of บทความ
ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
จิตรกรรมและประติมากรรมสมัยสุโขทัย
Part of บทความ
เป็นความจริงที่ว่าศิลปแบบสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปสมัยอื่น ๆ เป็นต้นว่าจากพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเกาะลังกา แต่ศิลปแบบสุโขทัยนั้นมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของตนเอง ซึ่งมาจากความชาญฉลาดและความเลื่อมใสในศาสนาอย่างลึกซึ้งของชนชาติไทย
พระพุทธรูปแบบสุโขทัยบางรูป สวยงามมากจนกระทั่งดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของสตรีปนอยู่ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ประจักษ์ว่าลักษณะเช่นนี้เกิดจากความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งที่ช่างไทยสมัยโบราณมีต่อพระพุทธองค์ และเกิดจากการทำรูปภาพขึ้นตามมโนภาพดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เป็นของโลกที่ไม่มีตัวตน ซึ่งรูปลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธรูปเป็นของสวรรค์ยิ่งกว่าของโลกมนุษย์
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507
Part of บทความ
ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.
Boisselier, Jean