ศิลปกรรมไทย -- อิทธิพลเขมร

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรมไทย -- อิทธิพลเขมร

Equivalent terms

ศิลปกรรมไทย -- อิทธิพลเขมร

Associated terms

ศิลปกรรมไทย -- อิทธิพลเขมร

5 Archival description results for ศิลปกรรมไทย -- อิทธิพลเขมร

5 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรม 4 รูป ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ภายในประเทศไทย

ได้ค้นพบประติมากรรมที่สำคัญ 4 รูป ภายในประเทศไทย 1) เทวรูปพระคเณศศิลา สูง 1.70 เมตร พบ ณ เทวาลัยเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี กำหนดอายุไว้ว่าอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-12 เทียบได้กับเทวรูปพระคเณศจาก Tuol Phak Kin อีก 3 องค์ พบที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ 2) พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สูง 47 เซนติเมตร อาจหล่อขึ้นในศิลปะขอมสมัยไพรกเมง อายุราว พ.ศ.1200-1250 3) พระโพธิสัตว์อีกองค์อาจเป็นพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเนื่องจากสัญลักษณ์บนมวยผมหลุดหายไป สูง 1.37 เมตร คงหล่อขึ้นหลังกว่ารูปแรก ระหว่าง พ.ศ.1250-1350 4) พระพุทธรูปสำริด สูง 1.20 เมตร ในศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมสัมฤทธิ์จากอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

มีการค้นพบประติมากรรมสำริดจำนวนหนึ่ง ที่ปราสาทแห่งหนึ่งในอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และถูกนำลักลอบออกนอกประเทศเกือบหมด คงมีเหลืออยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์ของเอกชนเพียง 2-3 รูปเท่านั้น นายอัลแบรต์ เลอบอนเนอ (Albert Le Bonheur) กล่าวถึงรูปพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย สำริด สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งพิพิธภัณฑ์กีเมต์ได้ซื้อไว้ โดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประติมากรรมสำริดซึ่งค้นพบที่อำเภอประโคนชัยเหล่านี้ กับอาณาจักรศรีจานาศะ และค้านความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เกี่ยวกับอิทธิพลของศิลปศรีวิชัยสำหรับลักษณะรูปภาพ (iconography) ของประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย นายเลอบอนเนอได้นำไปเปรียบเทียบกับภาพสลักที่ถ้ำเขาถมอรัตน์ ใกล้กับเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับการกำหนดอายุเห็นว่ายังไม่อาจกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนนางสาวเอมมา ซี บังเกอร์ (Emma C. Bunker) ได้รวบรวมรูปภาพเกี่ยวกับประติมากรรมสำริดที่ค้นพบที่อำเภอประโคนชัย และให้รูปปราสาทอิฐที่ค้นพบประติมากรรมสำริดเหล่านี้ไว้ด้วย แต่ไม่ได้บอกชื่อปราสาท พร้อมทั้งรูปประติมากรรมสำริดที่ค้นพบอีก 24 รูป ซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และร้านค้าของเก่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ปรางค์กู่วัดพระโกณา

ปรางกู่วัดพระโกณา ตั้งอยู่ในตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะเป็นปราสาท 3 องค์ ก่อด้วยอิฐ ปราสาทค์องค์ด้านทิศใต้ยังคงมีลักษณะสมบูรณ์กว่าองค์อื่นๆ ปราสาท 3 องค์นี้มีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบ ภายในกำแพงมีวิหารตั้งอยู่ ในหนังสือเรื่องบัญชีอธิบายโบราณสถานในประเทศกัมพูชา เล่มที่ 2 ของนายเดอ ลาจองกีแยร์ (E. Lunet de Lajonquiere) เรียกว่า กู่สี่แจง (Ku Si Cheng) การกำหนดอายุของปรางค์กู่วัดพระโกณา ถ้าจะนำภาพสลักไปเปรียบเทียบกับศิลปะขอมจะอยู่ในสมัยเดียวกับศิลปะขอมสมัยบาปวน คือราวระหว่าง พ.ศ. 1550-1650 ก่อนสมัยนครวัด นอกจากนี้ยังมีทับหลังอีก 2 ชิ้น ที่เป็นหลักฐานสนับสนุน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปลพบุรี

ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในศิลปะลพบุรีในประเทศไทย 4 ภาพ ภาพที่ 1 ศิลาทับหลัง ประตูวิหารหลังข้างเหนือที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นรูปพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือหลังพญาอนันตนาคราช พระองค์ค่อนข้างตั้งตรงขึ้น มีดอกบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ พ.ศ. 1600-1650 ภาพที่ 2 ทับหลังศิลา เดิมอยู่ในเทวสถานพระนารายณ์ เมืองนครราชสีมา เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมสินธุ์ตะแคงขวา ก้านบัวก้านเดียวผุดออกมาจากพระนาภี และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ข้างบน สลักขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1550-1600 หรือ 1600-1650 ภาพที่ 3 ศิลาทับหลังประตูมุขโถง ด้านตะวันออกตอนนอกที่ปราสาทหินพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นรูปพระนารายณ์ 4 กร บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร และมีพญานาคหลายเศียรแทรกอยู่ตรงกลาง มีก้านบัวหลายก้านผุดขึ้นจากหลังพระขนงพระนารายณ์ พระพรหมประทับอยู่เหนือบัวบานก้านกลาง คาดว่าสลักขึ้นหลังสมัยปราสาทนครวัดระหว่าง พ.ศ. 1675-1700 ภาพที่ 4 ทับหลัง ณ ปรางค์กู่สวนแตง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นภาพพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาอยู่เหนือหลังมังกร พญานาคที่แทรกอยู่ตรงกลางหายไป ก้านบัวแบ่งออกเป็นหลายก้านและมีพระพรหมประทับอยู่บนก้านกลาง สลักขึ้นในสมัยหลัง ระหว่าง พ.ศ. 1700-1750.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล