ศิลปกรรมไทย -- สมัยสุโขทัย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรมไทย -- สมัยสุโขทัย

Equivalent terms

ศิลปกรรมไทย -- สมัยสุโขทัย

Associated terms

ศิลปกรรมไทย -- สมัยสุโขทัย

4 Archival description results for ศิลปกรรมไทย -- สมัยสุโขทัย

4 results directly related Exclude narrower terms

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

จิตรกรรมและประติมากรรมสมัยสุโขทัย

เป็นความจริงที่ว่าศิลปแบบสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปสมัยอื่น ๆ เป็นต้นว่าจากพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย และจากเกาะลังกา แต่ศิลปแบบสุโขทัยนั้นมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะของตนเอง ซึ่งมาจากความชาญฉลาดและความเลื่อมใสในศาสนาอย่างลึกซึ้งของชนชาติไทย
พระพุทธรูปแบบสุโขทัยบางรูป สวยงามมากจนกระทั่งดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของสตรีปนอยู่ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ประจักษ์ว่าลักษณะเช่นนี้เกิดจากความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งที่ช่างไทยสมัยโบราณมีต่อพระพุทธองค์ และเกิดจากการทำรูปภาพขึ้นตามมโนภาพดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เป็นของโลกที่ไม่มีตัวตน ซึ่งรูปลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธรูปเป็นของสวรรค์ยิ่งกว่าของโลกมนุษย์

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล