ประติมานวิทยา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ประติมานวิทยา

Equivalent terms

ประติมานวิทยา

Associated terms

ประติมานวิทยา

9 Archival description results for ประติมานวิทยา

9 results directly related Exclude narrower terms

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ถ้ำงาม ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. มีภาพใหญ่สลักอยู่บนผนังถ้ำทางด้านซ้ายใกล้กับปากถ้ำ เป็นภาพนูนต่ำพระพุทธรูปทรงแสดงปางประทานธรรม (วิตรรกะ) ประทับนั่งห้อยพระบาท (ประลัมพปทาสน์) อยู่บนบัลลังก์ ทรงครองจีวรด้วยการยึดชายผ้าอุตราสงค์ไว้ ด้านซ้ายเป็นรูปพระอิศวรประทับอยู่ในท่าสบายพระทัย (ลลิตาสน์) และมีลักษณะเป็นนักบวช เทวรูปพระนารายณ์ทรงศิราภรณ์คล้ายกับประติมากรรมบางรูปจากเมืองศรีเทพ คือ สวมหมวกรูปทรงกระบอกมีรัศมีเป็นรูปไข่ หรือวงโค้งหลายหยัก จักรของพระนารายณ์มีขนาดใหญ่มาก ดูค่อนข้างแปลก ส่วนรูปเทวดากำลังเหาะทั้งทรงผม เครื่องแต่งกายและท่าทาง ทำให้นึกถึงภาพนูนต่ำปั้นด้วยปูนหรือดินเผาที่พบทางแถบภาคตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สรุปว่า ทั้งพระพุทธรูป เทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ในถ้ำพระโพธิสัตว์ อาจจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดีได้อย่างแท้จริง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Thailand : Recent Finds at the Sanctuary of Kampaeng Yai

A bronze image was discovered near the southern gate (gopura) of the galleries around Prasat Kampaeng Yai, (Sanctuary of Kampaeng Yai) on 17 May 1989. The statue, standing 184 cm. high (140 cm. for the body, 10 cm. for the base and 34 cm. for the tenon underneath). The statue represents a standing dvarapala (door-guardian).
Professor Jean Boisselier, a French expert on khmer art thinks this bronze statue represents Nandikesvara or Nandisvara, chief of the gana (attendants of Siva). Because of his loyal services, Siva allowed Nandikesvara to change his primitive appearance, which resembles a monkey, to the likeness of Siva. And even if the statue is not really Nandikesvara, Professor Bossolier still thinks this bronze statue is a door-guardian. The way it was gilded and its excellent execution are invitations to suppose that this statue must have stood in front of the central sanctuary of Prasat Kampaeng Yai, or even inside its porch.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมสัมฤทธิ์พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

กรมศิลปากรค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 ขนาดความสูงเฉพาะองค์ 140 เซนติเมตร รวมความสูงทั้งฐาน 180 เซนติเมตร คงหล่อขึ้นในศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลาย ระหว่าง พ.ศ. 1600-1650
ศาสตราจารย์ บวสเซอลีเย่ เห็นว่าเป็นประติมากรรมซึ่งมีแกนในเป็นดินพร้อมกับแกนในเป็นเหล็ก คงเป็นรูปของทวารบาล และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นสัมฤทธิ์ชุบทองและหล่ออย่างดี เดิมคงตั้งอยู่หน้าปราสาทหลังกลาง หรืออาจตั้งอยู่ภายในมุขหน้าปราสาทหลังนั้น หรือตั้งอยู่หน้าปราสาทองค์ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นปราสาทหลังที่สำคัญที่สุด รูปนี้น่าจะเป็นรูปของนันทิเกศวร หรือนันทีเกศวร โดยปกติจะประจำอยู่กับเทวาลัยของพระอิศวร ทั้งนี้ ประติมากรรมนี้มีรอยแตกยาวอยู่บนทั้งประติมากรรมและฐาน ควรค้นหาวิธีหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของรายแตกแยกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้มีสนิมเกิดเพิ่มขึ้น สำหรับการจัดแสดงต้องมีเครื่องยึดภายใต้รักแร้เพื่อป้องกันมิให้ระดับที่ข้อเท้าต้องแตกแยกออก และจัดไว้ในตู้กระจกที่ป้องกันความชื้นได้.

Boisselier, Jean

พระธยานิพุทธที่บุโรพุทโธในเกาะชวา

บุโรพุทโธในเกาะชวาเป็นศาสนสถานที่ประกอบด้วยระเบียงในผังสี่เหลี่ยม 4 ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นลานวงกลม 3 ชั้น ทั้งนี้ ผนังด้านในของระเบียงผังสี่เหลี่ยมแต่ละชั้นใช้เป็นผนังด้านนอกของระเบียงชั้นต่อไปขึ้นไปข้างบนจึงทำให้ระเบียงมี 4 ชั้น แต่ผนังมี 5 ชั้น
ที่ผนังระเบียงเหล่านี้นอกจากจะแกะสลักภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีการประดิษฐานประติมากรรมพระพุทธรูปภายในซุ้ม โดยพระพุทธรูปในแต่ละชั้นแสดงปาง (มุทรา) ต่างกัน ส่วนลานวงกลมด้านบนประดิษฐานสถูปเจาะรูเล็ก ๆ ภายในสถูปแต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปาง (มุทรา) เดียวกัน สถูปเหล่านี้เรียงรายเป็นแถว 3 แถวล้อมรอบสถูปใหญ่ผนังทึบไว้ตรงกลาง ภายในสถูปองค์นี้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ
ศาสตราจารย์ ฟัน โลฮุยเซน เดอ ลิว ศึกษาตีความทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปกลุ่มดังกล่าว สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปที่ผนังระเบียง 4 ชั้นแรกแทนพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศหลักทั้ง 4 ทิศ ส่วนพระพุทธรูปในระเบียงชั้นที่ 5 เป็นพระสมันตภัทรในสถานะพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ส่วนพระพุทธรูปภายในสถูปที่เจาะรูเล็ก ๆ หมายถึงพระมหาไวโรจนะ เป็นพระธยานิพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ส่วนประติมากรรมที่อยู่ภายในสถูปองค์กลางอาจสัมพันธ์กับนิกายที่นับถือพระวัชรสัตว์และพระวัชรธรในสถานะสูงสุด.

Van Lohuizen-de Leeuw, J.E.

พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี

แนวคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีไม่ได้มีแต่เฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเท่านั้น แต่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายเล่ม ระบุลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่น คัมภีร์กรัณฑพยุหะ เป็นต้น โดยในการเปล่งรัศมีของพระองค์ ปรากฏเทวดา พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ อยู่ภายในรัศมีหรือประภามณฑลของพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรมหลายที่ เช่น ศิลปะเนปาล และศิลปะขอม.

Louis, Finot

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย

Bhattacharya, Kamaleswar