จารึกภาษาบาลี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

จารึกภาษาบาลี

Equivalent terms

จารึกภาษาบาลี

Associated terms

จารึกภาษาบาลี

6 Archival description results for จารึกภาษาบาลี

6 results directly related Exclude narrower terms

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ศิลาจารึกภาษามอญ ที่เมืองลำพูน หลักที่ 1

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ได้พบศิลาจารึกภาษามอญ 7 หลัก ที่เมืองลำพูน เดิมคืออาณาจักรหริภุญชัยในสมัยโบราณและบริเวณใกล้เคียง ดังนี้ วัดดอน (วัดดอนแก้ว) วัดกู่กุด วัดแสนข้าวห่อ วัดมหาวัน วัดบ้านหลุย (วัดบ้านหลวย) และวัดต้นแก้ว (จารึกวัดดอนแก้ว ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 4 ไม่ได้มีการแปลในบทความนี้) ปัจจุบันรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย ตัวอักษรที่ใช้จารึกภาษามอญนั้นรูปร่างของตัวอักษรมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกภาษามอญในรัชกาลของพระเจ้ากยันซิตถา ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า (พ.ศ. 1628 - 1656) แต่จารึกภาษามอญที่เมืองลำพูนจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 และใกล้เคียงกับภาษามอญในสมัยปัจจุบันมากกว่า ทั้งมีคำหลายคำที่ไม่เคยค้นพบในจารึกภาษามอญโบราณในประเทศพม่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดดอนแก้ว) จารึกจากวัดดอน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ.1) ขุดค้นพบที่วัดดอน เมื่อ พ.ศ. 2460 จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 35 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก และการผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2, 3 และ 4

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดกู่กุด) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 2) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 38 บรรทัด
เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสวาธิสิทธิโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์พระรัตนเจดีย์ซึ่งพังทลายลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว มีการกล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำในอารามโดยพระราชมารดา การถวายข้าพระ กัลปนาที่ดิน และสิ่งของต่าง ๆ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 3 จารึกวัดแสนข้าวห่อ (ตะจุ๊มหาเถร) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 7) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 14 บรรทัด บริเวณมุมบนของจารึกหักหายไป เนื้อหากล่าวถึง ตชุมหาเถรแห่งเมืองหริภุญไชย ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 10 องค์ ปลูกต้นมหาโพธิ์ และต้นมะพร้าว สร้างฉัตร ยอดพระไตรปิฎก คัมภีร์พระปริตต์ พร้อมที่เก็บคัมภีร์ รวมทั้งสร้างกำแพงและถวายวัว 1 คู่ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 4 จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุดหรือจามเทวีหลักที่ 2 (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 5) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 8 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 และ 6

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) - ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 จารึกวัดมหาวัน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 3) จารึกจำนวน 4 ด้าน (แก้ไขในบทความจากเดิม 3 ด้าน) ทั้งหมด 85 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง ความสัตย์ที่แท้จริง คือ จรมตฺต ในผลงานของท่าน (กษัตริย์) ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ กล่าวถึงราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม) และการถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 6 จารึกวัดบ้านหลวย (จารึกวัดบ้านหลุย) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 6) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 32 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา เช่น การอุทิศข้าพระสำหรับบำรุงรักษาวัดและสระน้ำ การถวายสิ่งของต่าง ๆ เช่นหม้อน้ำ, ฉัตรและเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งกล่าวถึงผู้สร้างเจดีย์และคูหา

Halliday, Robert