จารึกภาษาบาลี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

จารึกภาษาบาลี

Equivalent terms

จารึกภาษาบาลี

Associated terms

จารึกภาษาบาลี

10 Archival description results for จารึกภาษาบาลี

Only results directly related

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหรือหริภุญชัย ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

พระพุทธรูปทรงเครื่องยืนสำริด สูง 87 เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณองค์นี้ ค้นพบที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะของศิลปะต่าง ๆ หลายแบบปะปนกัน เมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้เขียนเคยจัดให้อยู่ในสมัยลพบุรี โดยมีอิทธิพลของศิลปอินเดียสมัยปาละเข้ามาปะปน และตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ ศิลปวัตถุชิ้นเอกของเอกชน (Masterpieces from Private Collection) แต่บัดนี้ผู้เขียนมีความเห็นเปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปสมัยหริภุญชัยตอนปลายราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากหลักฐานทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะสร้อยคอที่แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยนครวัด หลักฐานจากตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ นอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพุทธรูปยังมีจารึกปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรขอมและเป็นภาษาบาลี.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

จารึกใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแหลมอินโดจีนภาคกลาง [ตอนที่ 2]

การค้นพบจารึกใหม่ 3 หลักในประเทศไทย จารึกที่เก่าที่สุดค้นพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึกนี้ปรากฏบนแผ่นทองแดงขนาด 0.45 x 0.30 เมตร มีจารึกอยู่ 6 บรรทัด แบ่งออกเป็น โศลกภาษาสันสกฤต 3 โศลก ใช้ตัวอักษรเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร กล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ได้แก่การอุทิศถวายสิ่งต่างๆ แก่ศิวลึงค์ อามรตเกศวรและอีศาเนศวร แสดงให้เห็นว่า พุทธศาสนาไม่ได้เป็นศาสนาเดียวที่แพร่หลายอยู่ทางทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน จารึกหลักที่สองมาจากหินตั้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด สลักอยู่บนแผ่นหิน คงสลักขึ้นภายหลังจารึกทางพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่ ภูเขียวเก่า มีการเขียนตัวอักษรอย่างแปลกประหลาดและชำรุดบางส่วน ข้อความในจารึกไม่สมบูรณ์ เป็นจารึกของครูผู้มีนามว่า จันทราทิตย์ และเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา มีใจบุญกุศลและรักษาศีล เป็นผู้รอบรู้อภิธรรมและได้กระทำการสร้างศาสนสถานหรืองานการกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง จารึกหลักที่ 3 เป็นจารึกที่น่าสนใจที่สุด จารึกอยู่บน 2 หน้าของแผ่นหิน ค้นพบในเนินดินใกล้หมู่บ้านมาบมะขาม ตำบลบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ด้านหน้าจารึกเป็นภาษาบาลี 20 บรรทัด ด้านหลังสลักภาษาเขมร 33 บรรทัด นับว่าเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ค้นพบในแหลมอินโดจีน กล่าวถึงการอุทิศที่ดินตามพระราชโองการของพระเจ้าอโศก หรือธรรมาโศก ใน พ.ศ. 1710 แด่พระสรีรธาตุซึ่งมีพระนามว่ากมร เตงชคตธรรมาโศก แต่ถ้าแปลความหมายอีกแบบหนึ่งจะเกี่ยวกับการอุทิศที่ดินถวายแด่พระอัฐิของพระเจ้าธรรมาโศกตามพระบัญชาของผู้ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ ดังนั้น จารึกนี้อาจเป็นหลักฐานแสดงการแผ่ขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ของอาณาจักรหริภุญชัยในระหว่าง พ.ศ. 1690-1715 หรืออาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการแผ่ขยายอาณาเขตของอาณาจักรละโว้ขึ้นไปทางภาคเหนือ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 2]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) ลัทธิเทวราชปรากฎขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1345 ซึ่งทำให้พระราชากลายเป็นสมมติเทพ และเป็นส่วนหนึ่งของพระอิศวรมีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล ศาสนาพราหมณ์จึงควบคู่ไปกับอำนาจของกษัตริย์ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 ทรงนับถือลัทธิไวษณพนิกายและลัทธิเทวราชา รวมทั้งมีการสร้างเทวรูปหริหระแสดงถึงการผสมผสานทั้ง 2 ลัทธิเข้าด้วยกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ทำให้ศาสนาในอาณาจักรขอมเป็นศาสนาผสมอย่างแท้จริง ดังที่ปรากฎในการสร้างยโศธราศรมเพื่อถวายแก่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์หลายองค์ ส่วนพุทธศาสนาก็ได้มีการสร้างพุทธสถานโดยข้าราชการเนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 จนมาในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 จารึกในรัชกาลพระเจ้าชัยวีรวรมันได้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ลัทธิไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ โดยศาสนาในอาณาจักรขอมยังเป็นศาสนาแบบผสมจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีลัทธิพุทธราชาเข้ามาแทนที่เทวราชาที่มีมาแต่เดิม แต่เมื่อสิ้นสมัยแล้วก็กลับไปนิยมศาสนาพราหมณ์ตามเดิม จน พ.ศ. 1839 พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ได้ประดิษฐานในอาณาจักรขอม พระเจ้าศรีนทรวรมันได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่ก็ต้องสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และกลับไปตั้งมั่นในลัทธิไศวนิกายตามเดิม

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 4]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ปรัชญาในศาสนาพราหมณ์พบในจารึกขอมที่กล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในจารึกภาษาสันสกฤต แสดงถึงพระอิศวรทรงเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ เกิดเป็นรูปอยู่ประจำทั้ง 8 ขึ้น (อษฺฏ มูรติ)คือ แผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และอาตมัน แนวความคิดรูปทั้งแปดพบมากในอาณาจักรขอม โดยในงานพิธีกรรมก็สอดคล้องกับแนวคิดในประเทศอินเดียด้วย ปฺรณว เครื่องหมายโอม เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอิศวร มีลักษณะ 3 ประการ ลักษณะที่ 1 คือพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟ ลักษณะที่ 2 คือตรีมูรติ และลักษณะที่ 3 คือคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งทำให้นึกถึงพระเนตรทั้งสามของพระอิศวรด้วย
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเกี่ยวข้องกับการสังเวชบูชาไฟในการเคารพพระอิศวร พระอัคนีเป็นรูปหนึ่งของ อษฺฏ - มูรติ ไฟก็คือแสงประจำโลก และคือพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน โดยแสงนั้นเป็นแสงสว่างขั้นต้นกำเนิดโดยพระผู้สร้าง โดยศิวลึงค์เปรียบได้กับเสาแห่งไฟ ที่เป็นแสงสว่างเหนือความมืด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สัมพันธ์กับแสงสว่าง ลัทธิโยคะยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเคารพบูชา

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 5]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) รูปแบบของพระอิศวรปรากฏตามลักษณะประติมานวิทยาหลายรูปแบบ ศิวลึงค์เป็นลักษณะหนึ่งที่พบมากและมีหลายหลายรูปแบบ คือรูปแบบศิวลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และรูปแบบศิวลึงค์ที่สร้างขึ้น รูปแบบที่สำคัญคือ มุขลึงค์ มีลักษณะเป็นลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระอิศวร เป็นต้น นอกจากนี้สัญลักษณ์ของพระอิศวรยังปรากฏในรูปแบบ ศิวบาท รวมทั้งตรีศูลและโคนนทิ ทั้งนี้การสร้างพระอิศวรในรูปมนุษย์ไม่นิยมนัก ในสมัยก่อนเมืองพระนครพบเพียง 4 ชิ้น ต่อมาในสมัยเมืองพระนครพบว่ามีการสร้างรูปมนุษย์มากขึ้นและมีหลายปาง ที่นิยมคือรูปพระอุมา-มเหศวร และรูปพระศิวนาฏราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประติมานวิทยาที่แสดงออกในรูปโคนนทิและพระกาล รวมทั้งรูปพระอุมาซึ่งเป็นศักติของพระอิศวร มีรูปแบบพระอุมาที่สำคัญคือ รูปมหิษาสุรมรรทนี และรูปอรรธนารีศวร เป็นต้น จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย

Bhattacharya, Kamaleswar

ศิลาจารึกภาษามอญ ที่เมืองลำพูน หลักที่ 1

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ได้พบศิลาจารึกภาษามอญ 7 หลัก ที่เมืองลำพูน เดิมคืออาณาจักรหริภุญชัยในสมัยโบราณและบริเวณใกล้เคียง ดังนี้ วัดดอน (วัดดอนแก้ว) วัดกู่กุด วัดแสนข้าวห่อ วัดมหาวัน วัดบ้านหลุย (วัดบ้านหลวย) และวัดต้นแก้ว (จารึกวัดดอนแก้ว ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 4 ไม่ได้มีการแปลในบทความนี้) ปัจจุบันรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย ตัวอักษรที่ใช้จารึกภาษามอญนั้นรูปร่างของตัวอักษรมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ใช้ในจารึกภาษามอญในรัชกาลของพระเจ้ากยันซิตถา ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า (พ.ศ. 1628 - 1656) แต่จารึกภาษามอญที่เมืองลำพูนจารึกขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 และใกล้เคียงกับภาษามอญในสมัยปัจจุบันมากกว่า ทั้งมีคำหลายคำที่ไม่เคยค้นพบในจารึกภาษามอญโบราณในประเทศพม่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 1 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดดอนแก้ว) จารึกจากวัดดอน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ.1) ขุดค้นพบที่วัดดอน เมื่อ พ.ศ. 2460 จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 35 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสววาธิสิทธิ ทรงสถาปนาวัดเชตวันเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา ต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ 31 พรรษา โปรดให้สร้างกุฏิ และเสนาสนะแด่ภิกษุสงฆ์ อีกทั้งจารพระไตรปิฎกไว้เป็นจำนวนมาก มีการสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ ทางด้านหน้าของวัดเชตวัน โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ พระชายา 2 พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระโอรส โดยมีการกล่าวถึงบริเวณที่ตั้งของเจดีย์ ซึ่งเรียงกันจากทิศตะวันออกไปหาทิศตะวันตก และการผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิ และพระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า มหานาม และ กัจจายะ ตามลำดับ โดยพระมหาเถระนามว่า ราชคุรุ เป็นประธานในการผนวช ในขณะนั้นพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงมีพระชนมายุได้ 32 พรรษา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2, 3 และ 4

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) ซึ่งแรกตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส ความว่า ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 2 จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ1 (วัดกู่กุด) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 2) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 38 บรรทัด
เนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าสวาธิสิทธิโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์พระรัตนเจดีย์ซึ่งพังทลายลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว มีการกล่าวถึงการสร้างบ่อน้ำในอารามโดยพระราชมารดา การถวายข้าพระ กัลปนาที่ดิน และสิ่งของต่าง ๆ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 3 จารึกวัดแสนข้าวห่อ (ตะจุ๊มหาเถร) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 7) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 14 บรรทัด บริเวณมุมบนของจารึกหักหายไป เนื้อหากล่าวถึง ตชุมหาเถรแห่งเมืองหริภุญไชย ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 10 องค์ ปลูกต้นมหาโพธิ์ และต้นมะพร้าว สร้างฉัตร ยอดพระไตรปิฎก คัมภีร์พระปริตต์ พร้อมที่เก็บคัมภีร์ รวมทั้งสร้างกำแพงและถวายวัว 1 คู่ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 4 จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุดหรือจามเทวีหลักที่ 2 (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 5) จารึกจำนวน 1 ด้าน ทั้งหมด 8 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

Halliday, Robert

ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 และ 6

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเรียบเรียงจากบทความของศาสตราจารย์ฮัลลิเดย์ (R. Halliday) - ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 5 จารึกวัดมหาวัน (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 3) จารึกจำนวน 4 ด้าน (แก้ไขในบทความจากเดิม 3 ด้าน) ทั้งหมด 85 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึง ความสัตย์ที่แท้จริง คือ จรมตฺต ในผลงานของท่าน (กษัตริย์) ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ กล่าวถึงราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม) และการถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์ ศิลาจารึกภาษามอญที่เมืองลำพูน หลักที่ 6 จารึกวัดบ้านหลวย (จารึกวัดบ้านหลุย) (ศิลาจารึกเลขทะเบียน ลพ. 6) จารึกจำนวน 2 ด้าน ทั้งหมด 32 บรรทัด เนื้อหากล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนา เช่น การอุทิศข้าพระสำหรับบำรุงรักษาวัดและสระน้ำ การถวายสิ่งของต่าง ๆ เช่นหม้อน้ำ, ฉัตรและเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งกล่าวถึงผู้สร้างเจดีย์และคูหา

Halliday, Robert