วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

Equivalent terms

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

Associated terms

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

3 Archival description results for วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

Only results directly related

พระพุทธรูปสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ มี พระศรีสรรเพชญ พระพุทธเทวปฏิมากร พระโลกนาถ พระพุทธปูปวัดเขาอินทร์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระคันธารราฐ วัดมหาธาตุฯ มีพระประธานในพระอุโบสถและวิหาร หอพระสุราลัยพิมาน มีพระพุทธจุลจักร และพระพุทธจักรวรรดิ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่ วัดอรุณฯ มีพระพุทธธรรมิสรราช วัดสุทัศน์ฯ มีพระศรีศากยมุนี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธนฤมิตร พระพุทธรังสฤษดิ์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 34 ปาง วัดพระเชตุพนฯ มีพระไสยาสน์ วัดสุทัศน์ฯ มีพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดราชโอรสฯ มีพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดกัลยาณมิตรมีพระพุทธไตรรัตนนายก วัดราชนัดดามีพระเศรษฐตมมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติมีพระพุทธมหาโลกาภินันท์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ วัดปทุมวันมีพระเสริม วัดคฤหบดีมีพระแซกคำ วัดอัปสรสวรรค์มีพระฉันสมอ พระประธานในอุโบสถวัดเทพธิดาฯ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งประดิษฐานไว้แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเชิญไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนิรันตราย 18 องค์ที่วัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย วัดอรุณฯ มีพระพุทธนฤมิตและพระอรุณ วัดราชประดิษฐ์มีพระพทุธสิหิงคปฏิมากร พระปฐมเจดีย์มีพระสิหิงค์ วัดปทุมวนารามมีพระใส วัดหงส์รัตนารามมีพระแสน วัดเสนาสน์มีพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระพุทธรูปคันธารราฐ วัดบวรนิเวศมีพระพุทธวัชรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ พระสมุทรนินนาท วัดเบญจมบพิตรมีพระพุทธอังคีรส พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธนรสีห์น้อย วัดราชาธิวาสมีพระสัมพุทธพรรณีจำลอง วัดนิเวศธรรมประวัติมีประพุทธนฤมลธรรโมภาส ใน พ.ศ. 2500 ได้มีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ จึงมอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้คิดแบบ เพื่อให้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่จะประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์โปรดฯ ให้หล่อขึ้นทุกรัชกาล และยังมีพระแก้วประจำรัชกาลอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาณในพระบรมมหาราชวัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ วัดพระเชตุพนฯ มี พระศรีสรรเพชญ พระพุทธเทวปฏิมากร พระโลกนาถ พระพุทธปูปวัดเขาอินทร์ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระคันธารราฐ วัดมหาธาตุฯ มีพระประธานในพระอุโบสถและวิหาร หอพระสุราลัยพิมาน มีพระพุทธจุลจักร และพระพุทธจักรวรรดิ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้แก่ วัดอรุณฯ มีพระพุทธธรรมิสรราช วัดสุทัศน์ฯ มีพระศรีศากยมุนี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธนฤมิตร พระพุทธรังสฤษดิ์ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 34 ปาง วัดพระเชตุพนฯ มีพระไสยาสน์ วัดสุทัศน์ฯ มีพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดราชโอรสฯ มีพระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดกัลยาณมิตรมีพระพุทธไตรรัตนนายก วัดราชนัดดามีพระเศรษฐตมมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติมีพระพุทธมหาโลกาภินันท์ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ วัดปทุมวันมีพระเสริม วัดคฤหบดีมีพระแซกคำ วัดอัปสรสวรรค์มีพระฉันสมอ พระประธานในอุโบสถวัดเทพธิดาฯ วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งประดิษฐานไว้แทนพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเชิญไปไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนิรันตราย 18 องค์ที่วัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย วัดอรุณฯ มีพระพุทธนฤมิตและพระอรุณ วัดราชประดิษฐ์มีพระพทุธสิหิงคปฏิมากร พระปฐมเจดีย์มีพระสิหิงค์ วัดปทุมวนารามมีพระใส วัดหงส์รัตนารามมีพระแสน วัดเสนาสน์มีพระอินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระพุทธรูปคันธารราฐ วัดบวรนิเวศมีพระพุทธวัชรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ พระสมุทรนินนาท วัดเบญจมบพิตรมีพระพุทธอังคีรส พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธนรสีห์น้อย วัดราชาธิวาสมีพระสัมพุทธพรรณีจำลอง วัดนิเวศธรรมประวัติมีประพุทธนฤมลธรรโมภาส ใน พ.ศ. 2500 ได้มีความพยายามที่จะสร้างพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ จึงมอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้คิดแบบ เพื่อให้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่จะประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์โปรดฯ ให้หล่อขึ้นทุกรัชกาล และยังมีพระแก้วประจำรัชกาลอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาณในพระบรมมหาราชวัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ผลอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับการใช้ Radiocarbon ทดลองอายุพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย

การใช้ Radiocarbon ทดลองอายุของพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก ครั้งแรกใน พ.ศ. 2504 ส่งตัวอย่างแกนดินเผาไป 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์ ภาคเหนือ ผลการทดลองพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1709-1904 ชิ้นที่สองมาจากพระพุทธรูปแบบสิงห์สมัยสุโขทัยจากวัดพระเชตุพนฯ ผลการทดลองให้อายุระหว่าง พ.ศ. 2148-2198 ต่อมาได้ส่งตัวอย่างไปทดลองซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มตัวอย่างชิ้นที่ 3 จากพระพุทธรูปที่มีจารึกบอกศักราชที่สร้างไว้เพื่อ่ใช้เป็นการบังคับได้ว่าผลจากการทดลองเหล่านี้เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ผลการทดลองสรุปได้ว่า การทดลองอายุของพระพุทธรูปด้วยการใช้ Radiocarbon ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ เนื่องจากอายุของแกนดินซึ่งอยู่ภายในพระพุทธรูปไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอายุของพระพุทธรูปเหล่านั้นด้วย การทดลองอายุของ Radiocarbon ควรใช้เป็นเพียงหลักฐานสำหรับสนับสนุนเท่านั้น การกำหนดอายุตามแบบศิลปหรือตามหลักฐานอื่น ๆ อาจจะได้ผลแน่นอนกว่า.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล