เชียงใหม่

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เชียงใหม่

Equivalent terms

เชียงใหม่

Associated terms

เชียงใหม่

3 Archival description results for เชียงใหม่

3 results directly related Exclude narrower terms

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 5]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume will discuss Chiengsaen style, U-thong school, Ayutthaya and Rattanakosin periods.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

มหาวิหารโพธิที่พุทธคยาและการจำลองแบบ

ต้นพระศรีมหาโพธิและวัชราสน์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ ถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มหาวิหารโพธิที่พุทธคยา คงสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์กุษานะ แทนที่อาคารไม่มีหลังคาซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อาคารนี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมหลายครั้ง ประกอบด้วยเรือนธาตุขนาดใหญ่ ซึ่งมีวิหารสำคัญตั้งอยู่ภายในและลานชั้นบนรองรับยอด 5 ยอด ทั้งเรือนธาตุและยอดก่อด้วยอิฐมีลายปูนปั้นประดับ
เอ. บี. กริสโวลด์ (A.B. Griswold) เชื่อว่า ประเทศต่างๆ ได้มีการจำลองแบบเพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปถึงประเทศอินเดียหรือเกาะศรีลังกาสามารถเคารพบูชาแทนได้ เช่น วิหารโพธิที่เมืองพุกาม วิหารที่วัดมหาโพธารามที่เมืองเชียงใหม่ วิหารชเวคูคยีที่เมืองหงสาวดี วิหารวูตาซือ และวิหารปิยุนซูที่กรุงปักกิ่ง วิหารมหาโพธิที่เมืองปาตานในประเทศเนปาล เจดีย์เจ็ดยอดที่เมืองเชียงราย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นโยบายการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทย

สถาปัตยกรรมที่พึงสงวนรักษาในประเทศไทย แบ่งเป็นหลายประเภท คือ โบราณสถาน วัดที่ยังมีพระสงฆ์ประจำอยู่ บ้านแบบไทย และอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยมีกรมศิลปากรทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการสงวนรักษาโบราณศิลปสถานแห่งชาติ ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณศิลปสถาน การบูรณะโบราณศิลปวัตถุสถานที่ถูกต้องควรมีการวิจัยก่อนซึ่งกระทำแบบพหุวิชาการโดยสถาปนิก นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และอาจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย วัดต่างๆ ที่มีประสงฆ์อยู่ประจำและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เจ้าอาวาสที่ต้องการบูรณะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน สำหรับบ้านแบบไทย ควรใช้วิธีการชักชวนให้ก่อสร้างบ้านแบบไทยไม่ใช่วิธีบังคับ ส่วนอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศนั้นควรบำรุงรักษา เพื่อแสดงถึงลักษณะที่น่าสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม และการสืบต่อทางด้านประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล