ปราสาทพระปิถุ (กัมพูชา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ปราสาทพระปิถุ (กัมพูชา)

Equivalent terms

ปราสาทพระปิถุ (กัมพูชา)

Associated terms

ปราสาทพระปิถุ (กัมพูชา)

4 Archival description results for ปราสาทพระปิถุ (กัมพูชา)

4 results directly related Exclude narrower terms

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 7]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย) รูปแบบประติมานวิทยาของพระนารายณ์ที่พบในอาณาจักรขอม ยังมีรูปพระนารายณ์ปางตรีวิกรม หรือตรีบาท พบในภาพเขียนและภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น ในส่วนปราสาทนครวัดมีภาพสลักนูนต่ำที่แสดงพระนารายณ์อวตารเป็นพระรามตามเรื่องราวในคัมภีร์รามายณะ อย่างไรก็ตามการอวตารเป็นพระกฤษณะดูจะสำคัญที่สุด และยังปรากฎรูปวราหาวตาร นรสิงหาวตาร และกูรมาวตาร ซึ่งการบูชาพระนารายณ์ในปางต่างๆแพร่หลายมากในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นอกจากเทวรูปมีการสร้างพระวิษณุบาทเป็นสัญลักษณ์ด้วย พระนารายณ์มีศักติคือพระศรีหรือพระลักษมีและพระเทวีหรือพระอุมา และมีการสร้างรูปของพระชายาทั้งสององค์ จากหลักฐานจารึกและงานศิลปกรรมสามารถกล่าวได้ว่าศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกายในอาณาจักรขอมได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ซึ่งดินแดนแถบมธุราก็ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาณาจักรขอมด้วย

Bhattacharya, Kamaleswar

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล