พุทธศาสนนิทานที่เจดีย์จุลปะโทน
- TH Subhadradis 01 BK-02-15-001
- Item
- 2517
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
พุทธศาสนนิทานที่เจดีย์จุลปะโทน
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การค้นคว้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ เมืองนครปฐม
Part of บทความ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงเป็นเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ได้ทรงเน้นถึงว่า พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสถานที่น่าเคารพนับถือที่สุด สำคัญที่สุดในประเทศไทย และเป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุด ในราว พ.ศ. 2405 พระองค์ทรงโปรดฯ ให้ก่อสร้างหุ้มพระปฐมเจดีย์องค์เดิมทั้งหมดไว้ภายในพระเจดีย์องค์ปัจจุบัน การริเริ่มของพระองค์ทำให้สังเกตเห็นว่า มีวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาซึ่งมีลักษณะดั้งเดิมอยู่ในบริเวณรอบ ๆ พระปฐมเจดีย์ ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในศาสนา พระพุทธรูปมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ พระธรรมจักร ภาพสลักนูนต่ำบนหิน หรือปั้นด้วยปูน หรือดินเผา และพระพิมพ์ ใน พ.ศ. 2495 การค้นพบและการตีพิมพ์ของศาสตราจารย์ เซเดส์ เกี่ยวกับเศษจารึก 2 ชิ้น ทำให้กล่าวได้ว่า มีการใช้ภาษามอญอยู่ที่เมืองนครปฐมในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2509 ได้ค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก มีวัดพระประโทนเป็นจุดศูนย์กลาง เมืองนี้มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน การกำหนดอายุของเจดีย์จุลประโทนจากการก่อสร้าง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 การก่อสร้างเจดีย์พร้อมกับมีลานทักษิณซึ่งมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ทิศ รวมทั้งลวดลายเครื่องประดับทำด้วยดินเผาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 การก่อสร้างครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้ลานทักษิณหายไป รวมทั้งมีลวดลายเครื่องประดับปูนปั้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 15 การก่อสร้างครั้งที่ 3 อยู่ในราวต้นหรือกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งค้นพบวัตถุที่บรรจุเป็นศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหันกลับไปยังลัทธิเถรวาทแบบดั้งเดิม.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับศิลปะทวารวดี
Part of บทความ
ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ เชื่อว่า อาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่น่าจะตั้งอยู่บนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง จนกระทั่งถึงแถบเมืองเพชรบุรีทางทิศใต้ ศิลปะทวาราวดีมีแบบอย่างในการก่อสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานประติมากรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปยืนและธรรมจักร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากดินแดนที่เป็นอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะจากนครปฐม สำหรับศิลปะทวาราวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้รับอิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่แผ่ขยายขึ้นมายังภาคกลางและภาคตะวันออกของแหลมอินโดจีนทั้งหมด แม้จะไม่ได้เข้ามายังอาณาจักรทวาราวดีโดยตรงแต่ก็ทิ้งร่องรอยที่สำคัญไว้ทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับ อันอาจเห็นได้ชัดที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี.
Boisselier, Jean