ถ้ำอชันตา (อินเดีย)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ถ้ำอชันตา (อินเดีย)

Equivalent terms

ถ้ำอชันตา (อินเดีย)

Associated terms

ถ้ำอชันตา (อินเดีย)

16 Archival description results for ถ้ำอชันตา (อินเดีย)

16 results directly related Exclude narrower terms

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร [ตอนที่ 28]

ผู้เขียนเรียบเรียงจากหนังสือเรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ของ มาเรีย-เธแรส เดอ มัลมาน (Marie-Therese de Mallmann) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในประเทศอินเดียเท่านั้น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงมีลักษณะเป็นเจ้าแห่งจักรวาล ทรงเป็นเทพเจ้าที่สูงกว่าเทพเจ้าทั้งหมดและสูงกว่าพระพุทธเจ้าด้วย พระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เริ่มปรากฎมีขึ้นในคัมภีร์ราวพุทธศตวรรษที่ 6-8 รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระหว่าง พ.ศ. 700-750 รูปหนึ่งอยู่ในศิลปคันธาระซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรีก-โรมัน และอีกรูปหนึ่งอยู่ในศิลปของราชวงศ์กุษาณะที่เมืองมถุรา รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทุกองค์ในศิลปสมัยคุปตะ และหลังคุปตะในแคว้นมหาราษฎร์และดินแดนใกล้เคียง มักมีลักษณะเกือบคงที่ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11-13 คือ ทรงเครื่องแต่งองค์อย่างเรียบ ๆ เกศาเกล้าเป็นชฎามงกุฎไม่มีเครื่องประดับ เครื่องอาภรณ์มีน้อย แต่ประติมาณวิทยาทางภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มทรงเครื่องอาภรณ์แล้ว มีการศึกษารูปต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ตั้งแต่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 6 กร ในสมัยแรกของศิลปปาละ-เสนะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อย ๆ ตั้งแต่สมัยเสื่อมชั่วคราวจนถึงสมัยฟื้นฟู และพระโพธิสัตว์ 2 กร ซึ่งมีอยู่ตลอดระยะเวลาของศิลปปาละ-เสนะ รวมทั้งพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร 12 กร และ 16 กร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปประทับยืนห่มเฉียงปางประทานพรและพุทธศิลปในภาคเอเซียอาคเนย์

มีการค้นพบพระพุทธรูปศิลาองค์หนึ่งที่ตวลตาฮอย (Tuol-Ta-Hoy) ในประเทศกัมพูชา และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานกรุงพนมเปญ มีลักษณะสำคัญคือ อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาแสดงปางประทานพร และครองจีวรห่มเฉียง
จากการศึกษารูปแบบ สามารถจัดประติมากรรมองค์ดังกล่าวไว้ในสมัยก่อนเมืองพระนคร อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปที่เก่าที่สุดในยุคดังกล่าว เนื่องจากการแกะสลักจีวรค่อนข้างคร่าว ดังนั้น จึงไม่อาจมีอายุเก่าไปกว่า พ.ศ.1150-1200 รูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงบทบาทการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากทางตอนใต้ของอินเดีย
นอกจากนี้ หากพิจารณาความหมายทางด้านประติมานวิทยา การศึกษาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ตวลตาฮอยอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าทีปังกร.

Boisselier, Jean

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 2]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงรูปรั้วจำลอง และรูปประตู (โตรณะ) จำลอง
ลักษณะของรูปรั้วจำลองในยุคต้นแสดงถึงโครงสร้างของรั้วที่นิยมทำในยุคนั้นคือ ประกอบด้วยเสาและลูกกรงนอน แต่ในสมัยหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เริ่มหายไป และมีลวดลายอื่น ๆ ประดับเข้ามาแทนที่
ส่วนประตู (โตรณะ) จำลอง นั้น รูปแบบในยุคแรกยังคงองค์ประกอบประตูแบบที่อยู่ด้านหน้าของสถูปสาญจีหมายเลข 1 และ 3 คือประกอบด้วย เสา 1 คู่ ด้านบนเป็นวงโค้ง 3 ท่อนพาดบนเสา ในสมัยต่อมา ช่างปรับเปลี่ยนรูปแบบประตูโดยลดหรือปรับรูปทรงขององค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น และมีการประดับลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 5]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยมีลวดลายกลุ่มหนึ่งในศิลปะอมราวดีที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด โดยในบทความนี้กล่าวถึง บัลลังก์ และกุฑุ ทั้งนี้ในส่วนของภาพบัลลังก์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) บัลลังก์ไม่มีลายรูปสัตว์และไม่มีลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด และ 2) บัลลังก์ที่มีลายหัวมกร สิงห์ และลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด ส่วนกุฑุ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1) กุฑุที่มีรูปทรงเหมือนกับที่ภารหุต แสดงวงโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง 2) กุฑุที่มีรูปวงโค้งเกือกม้า มีลักษณะคล้ายกับกุฑุในศิลปะคุปตะ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 11 to 16 of 16