อินเดีย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

อินเดีย

Equivalent terms

อินเดีย

Associated terms

อินเดีย

7 Archival description results for อินเดีย

7 results directly related Exclude narrower terms

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 1]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดีย [ตอนที่ 2]

ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 3-6) พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ยังไม่ปรากฏ แต่ช่างจะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น ดอกบัว หมายถึงปางประสูติ ต้นโพธิ์ หมายถึงปางตรัสรู้ และสถูปหมายถึงปางปรินิพพาน แต่พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ได้เริ่มปรากฏมีขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 คือ ศิลปะคันธารราฐ มถุรา และอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 6-9) และในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 10-11) แบบหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12-13) และแบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14-17) พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ มีลักษณะเป็นแบบกรีก-โรมัน แต่พระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะเป็นแบบอินเดียอย่างแท้จริง คือ คล้ายคลึงกับรูปเทวดาหรือยักษ์ในศิลปะอินเดียสมัยโบราณ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบอมราวดี

ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 ถึงพุทธศตวรรษที่ 9 ร่วมสมัยกับศิลปะคันธารราฐ พระพุทธรูปในศิลปะอมราวดีก็คงได้รับอิทธิพลมาจากศิลปคันธารราฐและมถุราผสมกัน เพราะศิลปะอมราวดีในขั้นแรกใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธรูป จนกระทั่งต่อมาภายหลังจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์ พระพุทธรูปแบบอมราวดีแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน มักยืนหันหน้าตรงอยู่บนฐานบัว ครองจีวรทั้งห่มเฉียงและห่มคลุม 2) แบบประทับนั่ง มีเฉพาะในภาพสลักนูนต่ำเท่านั้น 3) แบบนาคปรก พระพุทธรูปนาคปรกที่เก่าที่สุดตกอยู่ในแบบพระพุทธรูปประทับนั่งห่มเฉียง แบบที่ 2 ในศิลปะอมราวดี เป็นพระพุทธรูปที่มีวิวัฒนาการโดยเฉพาะของตนเองและเจริญขึ้นในศิลปะอมราวดี 4) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พระพุทธรูปแบบนี้แสดงถึงการคิดค้นลักษณะรูปภาพที่สำคัญแบบใหม่ ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องอยู่กับบัลลังก์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนม้านั่งหรือเก้าอี้มีท้าวแขน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ

พระพุทธรูปอินเดียแบบคุปตะ เจริญขึ้นทางภาคกลางของประเทศอินเดียในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-10 และจัดเป็นพระพุทธรูปอินเดียที่งามที่สุด พระพุทธรูปแบบนี้มีประภามณฑลสลักเป็นลวดลายเต็มทั้งแผ่น พระเกศาขมวดกลมนูน มีพระเกตุมาลาประกอบอยู่ข้างบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนชัดเจนและไม่ได้จรดกัน พระเนตรมีม่านพระเนตรข้างบนตัดเป็นเส้นตรง พระศอเป็นริ้ว แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน กลุ่มแรกครองจีวรห่มคลุมเป็นริ้ว กลุ่มที่สองริ้วของผ้าจีวรหายไป และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมเรียบและนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้ว พระพุทธรูปแบบหลังคุปตะเจริญขึ้นหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ. 860-1090) ลงไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 พระพุทธรูปแบบนี้มักเป็นพระพุทธรูปสลักนูน ส่วนใหญ่ไม่มีประภามณฑลประกอบ พระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา และวาดเป็นเส้นตรงเหนือพระนลาฏ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน ครองผ้าจีวรทั้งห่มคลุมและห่มเฉียง 2) แบบประทับนั่ง ครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท มีลักษณะพิเศษ คือ มักแสดงปางปฐมเทศนาและครองจีวรห่มเฉียง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ

พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะ อยู่ในช่วงหลังสมัยราชวงศ์คุปตะ ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 9-14 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1) แบบประทับยืน เช่น พระพุทธรูปที่สลักหน้าถ้ำอชันตา พระพุทธรูปแบบทวารวดีที่เก่าที่สุดในประเทศไทยก็คงได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปกลุ่มนี้ พระพุทธรูปอินเดียแบบหลังคุปตะน่าจะรับอิทธิพลจากอินเดียภาคกลาง รวมทั้งอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คันธารราฐ
พุทธลักษณะมีพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวยค่อนข้างสูง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กสลักนูนขึ้นมา การครองจีวรมีทั้งแบบห่มคลุมและครองจีวรห่มเฉียง มีทั้งเรียบไม่มีริ้ว และมีริ้ว พระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปในกลุ่มครองจีวรห่มคลุมมักแสดงปางประทานอภัยแต่บางครั้งก็แสดงปางประทานพร ในกลุ่มพระพุทธรูปยืนแบบครองจีวรห่มเฉียงจะยืนด้วยอาการตริภังค์ 2) กลุ่มแบบประทับนั่ง มีการทำพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเป็นจำนวนมาก พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่และแบบพระเกตุมาลาเป็นรูปกรวย มักครองจีวรห่มเฉียง บางองค์แสดงปางประทานปฐมเทศนา เช่นที่ถ้ำอชันตาที่ 27 ปางสมาธิ ปางประทานพร นิยมนั่งขัดสมาธิเพชร อันเป็นประเพณีของศิลปะอินเดียภาคกลางและภาคเหนือ มักประทับนั่งบนฐานบัว 3) แบบประทับนั่งห้อยพระบาท พบมากสุดที่ถ้ำอชันตา เอารังคาพาท กันเหรี และเอลโลรา พระพุทธรูปแบบนี้มีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง คือ ปางปฐมเทศนา ท่าของพระชงฆ์ พระชานุแยกออกจากกันและข้อพระบาทเข้ามาชิดกัน ผ้าจีวรมักเลิกขึ้นไปเหนือพระชงฆ์และพระโสณีด้านซ้าย ด้วยเหตุนี้ผ้าจีวรจึงคลุมเฉพาะพระชงฆ์ขวา และต่อจากนั้นจึงเลิกขึ้นไปจนถึงบั้นพระองค์เบื้องซ้าย และมักประทับนั่งเหนือบัลลังก์และพระบาทวางอยู่เหนือฐานบัว.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 2]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี โดยมีการยกตัวอย่างประติมากรรมต่าง ๆ ในศิลปะอินเดียระยะนั้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นพร้อมกับอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะอมรวดีนั้น มีการเน้นความเคลื่อนไหวอย่างมาก
ในช่วงหลัง เป็นบทความแนะนำศิลปะคุปตะและศิลปะหลังคุปตะ มีการกล่าวถึงพระพุทธรูปที่สารนาถที่มีจีวรเรียบบางเหมือนผ้าเปียกน้ำ รวมถึงกล่าวถึงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ทั้งประติมากรรม จิตรกรรม ทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู ที่เทวาลัยเทวคฤหะ และถ้ำอชันตา-กาณเหรี เอเลฟันตะด้วย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล