อินเดีย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

อินเดีย

Equivalent terms

อินเดีย

Associated terms

อินเดีย

37 Archival description results for อินเดีย

37 results directly related Exclude narrower terms

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 9]

จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 3 และ 4.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 8]

จากการศึกษาลวดลายต่าง ๆ บนภาพสลักในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี จะพบว่า ลวดลายแต่ละประเภทมีพัฒนาการแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ดี เมื่อนำลวดลายแต่ละประเภทมาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะพบว่า ลวดลายกลุ่มหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมด 4 ครั้ง ดังนั้น จึงสามารถแบ่งยุคสมัยศิลปะอมราวดีได้ทั้งหมด 4 สมัย โดยในบทความนี้กล่าวถึงศิลปะอมราวดีในสมัยที่ 1 และ 2.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 7]

ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 4 กลุ่ม ได้แก่ ทรงผมสตรี เครื่องแต่งกาย เข็มขัด และลวดลายเครื่องประดับต่าง ๆ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 6]

ภาพสลักจำนวนหนึ่งในศิลปะอมราวดีไม่มีลวดลายที่แสดงวิวัฒนาการแบบสืบเนื่องและลวดลายที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จึงดูเหมือนว่า เราไม่สามารถกำหนดอายุภาพสลักเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ในภาพสลักเหล่านี้ อาจมีลวดลายบางอย่างที่อาจนำมาพิจารณาร่วมกับลวดลายอื่น ๆ ที่สามารถกำหนดอายุได้ เพื่อมาช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนมากขึ้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงลวดลายประเภทดังกล่าว 2 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องประดับ ทรงผม โดยในกลุ่มเครื่องประดับ ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 4 กลุ่ม คือ สร้อยคอที่ห้อยตกลงมาระหว่างถัน ถุงเท้าและกำไลเท้า และสร้อยคอซึ่งพาดอยู่บนบ่า ส่วนทรงผมนั้น ในบทความนี้กล่าวถึง ทรงผมบุรุษ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 5]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยมีลวดลายกลุ่มหนึ่งในศิลปะอมราวดีที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด โดยในบทความนี้กล่าวถึง บัลลังก์ และกุฑุ ทั้งนี้ในส่วนของภาพบัลลังก์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) บัลลังก์ไม่มีลายรูปสัตว์และไม่มีลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด และ 2) บัลลังก์ที่มีลายหัวมกร สิงห์ และลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด ส่วนกุฑุ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1) กุฑุที่มีรูปทรงเหมือนกับที่ภารหุต แสดงวงโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง 2) กุฑุที่มีรูปวงโค้งเกือกม้า มีลักษณะคล้ายกับกุฑุในศิลปะคุปตะ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 4]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนาการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน และมกร
สำหรับลายวงกลมซึ่งมีลายดอกบัวสลักอยู่ภายใน มีพัฒนาการสำคัญคือ ลายดอกบัวซึ่งมองเห็นทางด้านข้างที่มุม จำนวนแถวกลีบที่มีเพิ่มขึ้น ลายก้านขดแบบต่าง ๆ และลายใบไม้ซึ่งในยุคแรกเป็นลายใบไม้แบบคดโค้ง และในยุคถัดมานิยมลายใบไม้เป็นขอเข้ามาแทนที่ ส่วนรูปมกรนั้น ยุคแรกแสดงลักษณะที่ผสมกันระหว่างจระเข้และปลาอย่างชัดเจน แต่ต่อมาช่างลดทอนลักษณะดังกล่าว และแสดงความเคลื่อนไหวยิ่งขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 2]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงรูปรั้วจำลอง และรูปประตู (โตรณะ) จำลอง
ลักษณะของรูปรั้วจำลองในยุคต้นแสดงถึงโครงสร้างของรั้วที่นิยมทำในยุคนั้นคือ ประกอบด้วยเสาและลูกกรงนอน แต่ในสมัยหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เริ่มหายไป และมีลวดลายอื่น ๆ ประดับเข้ามาแทนที่
ส่วนประตู (โตรณะ) จำลอง นั้น รูปแบบในยุคแรกยังคงองค์ประกอบประตูแบบที่อยู่ด้านหน้าของสถูปสาญจีหมายเลข 1 และ 3 คือประกอบด้วย เสา 1 คู่ ด้านบนเป็นวงโค้ง 3 ท่อนพาดบนเสา ในสมัยต่อมา ช่างปรับเปลี่ยนรูปแบบประตูโดยลดหรือปรับรูปทรงขององค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น และมีการประดับลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 1]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ
ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ คือ สถูป พัฒนาการสำคัญคือ ลวดลายเครื่องตกแต่งที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และสัญลักษณ์มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในชั้นแรก สถูปแสดงถึงสถานที่เคารพบูชา หรือสัญลักษณ์แสดงถึงตอนหนึ่งในพุทธประวัติ แต่ต่อมาสถูปมีความสำคัญเท่ากับองค์พระพุทธเจ้าเอง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 3]

ในช่วงแรก เป็นบทความแนะนำศิลปะหลังคุปตะเนื่องในศาสนาฮินดูที่ถ้ำเอลโลร่า (สะกดในบทความว่าเอลอระ) ในช่วงหลัง เป็นบทความที่แนะนำศิลปะสมัยที่ 4 ของอินเดีย อันแบ่งเป็นศิลปะทมิฬและศิลปะทางทิศเหนือ กล่าวถึงทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งมีแนวโน้มทางศิลปะที่หลากหลาย ไม่วาการแบ่งแยกทรงวิมานและทรงศิขระ การแสดงอำนาจของประติมากรรมอินเดียใต้ที่แตกต่างไปจากความอ่อนช้อยและเต็มไปด้วยราคะของประติมากรรมอินเดียเหนือ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 37