ศิลปกรรม -- อินเดีย -- สมัยอมราวดี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย -- สมัยอมราวดี

Equivalent terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย -- สมัยอมราวดี

Associated terms

ศิลปกรรม -- อินเดีย -- สมัยอมราวดี

3 Archival description results for ศิลปกรรม -- อินเดีย -- สมัยอมราวดี

3 results directly related Exclude narrower terms

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 5]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยมีลวดลายกลุ่มหนึ่งในศิลปะอมราวดีที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด โดยในบทความนี้กล่าวถึง บัลลังก์ และกุฑุ ทั้งนี้ในส่วนของภาพบัลลังก์นั้น สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) บัลลังก์ไม่มีลายรูปสัตว์และไม่มีลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด และ 2) บัลลังก์ที่มีลายหัวมกร สิงห์ และลายเส้นเฉียงมีรอยตวัด ส่วนกุฑุ มีทั้งหมด 2 แบบ คือ 1) กุฑุที่มีรูปทรงเหมือนกับที่ภารหุต แสดงวงโค้งเหนือประตูและหน้าต่าง 2) กุฑุที่มีรูปวงโค้งเกือกม้า มีลักษณะคล้ายกับกุฑุในศิลปะคุปตะ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 3]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายรูปพืชและสัตว์ในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงลายใบไม้ ลายพวงมาลัย และลายก้านขด ทั้งนี้ ในส่วนลายใบไม้ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลายใบไม้คดโค้ง และลายใบไม้เป็นขอ โดยลายใบไม้ประเภทแรกอายุที่เก่ากว่า
สำหรับลายพวงมาลัย มีต้นแบบมาจากลายพวงมาลัยมีกามเทพแบกแบบศิลปะกรีก-โรมัน ต่อมามีรูปแบบที่พัฒนาเป็นอินเดียมากขึ้น โดยยุคแรกจะมีการประดับลายใบไม้คดโค้ง แต่ในยุคสมัยต่อมาประดับลายใบไม้เป็นขอ
ส่วนลายก้านขด แสดงพัฒนาการโดยมีการประดับใบไม้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และในยุคแรกเป็นลายก้านขดที่มีดอกไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานิยมประดับลายใบไม้คดโค้งและลายใบไม้เป็นขอ ตามลำดับ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิวัฒนาการของศิลปอินเดียแบบอมราวดี [ตอนที่ 2]

วิธีพิจารณาวิวัฒนาการศิลปะแบบอมราวดีนั้น สามารถทำได้โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏบนงานศิลปกรรม โดยการกำหนดอายุลวดลายสามารถทำได้โดยเก็บตัวอย่างลวดลายในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็พิจารณาลวดที่อยู่ในช่วงเวลาห่างออกไปเพื่อให้เห็นพัฒนการ ทั้งนี้ เราสามารถนำลวดลายที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในศิลปะอมราวดีมาศึกษาวิวัฒนาการได้ โดยบทความนี้กล่าวถึงรูปรั้วจำลอง และรูปประตู (โตรณะ) จำลอง
ลักษณะของรูปรั้วจำลองในยุคต้นแสดงถึงโครงสร้างของรั้วที่นิยมทำในยุคนั้นคือ ประกอบด้วยเสาและลูกกรงนอน แต่ในสมัยหลัง องค์ประกอบเหล่านี้เริ่มหายไป และมีลวดลายอื่น ๆ ประดับเข้ามาแทนที่
ส่วนประตู (โตรณะ) จำลอง นั้น รูปแบบในยุคแรกยังคงองค์ประกอบประตูแบบที่อยู่ด้านหน้าของสถูปสาญจีหมายเลข 1 และ 3 คือประกอบด้วย เสา 1 คู่ ด้านบนเป็นวงโค้ง 3 ท่อนพาดบนเสา ในสมัยต่อมา ช่างปรับเปลี่ยนรูปแบบประตูโดยลดหรือปรับรูปทรงขององค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้น และมีการประดับลวดลายต่าง ๆ มากขึ้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล