พิษณุโลก

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

พิษณุโลก

Equivalent terms

พิษณุโลก

Associated terms

พิษณุโลก

2 Archival description results for พิษณุโลก

2 results directly related Exclude narrower terms

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean

วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย

จิตรกรรมฝาผนังของไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ศิลปะแบบสุโขทัย เช่น จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจิตรกรรมของไทยซึ่งกำลังก่อรูปแบบเป็นแบบของตนเอง เฉพาะพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นไทย ในขณะที่รูปบุคคลอื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเป็นแบบอินเดียหรือเขมรอยู่
ศิลปะแบบอยุธยา เช่น ผนังในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ มีจิตรกรรมปูนเปียกเป็นรูปเทวดามีลักษณะเช่นเดียวกับลายสลักที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลลายเส้นจากเกาะลังกาได้มาแพร่หลายถึงกรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ฝาผนังในองค์พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัยเป็นส่วนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลศิลปะแบบอู่ทองและอินเดียอยู่บ้าง
ศิลปะแบบธนบุรี มีสมุดภาพเรื่องไตรภูมิพระร่วง ที่เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2335 ภายหลังสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยอยุธยา ในสมุดภาพเรื่องไตรภูมิสมัยธนบุรี ภาพสถาปัตยกรรมและภาพบุคคลได้เขียนไปตรามกฎเกณฑ์
ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้มีการสร้างวัดกันขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีหลายวัดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง ช่างสมัยอยุธยาได้เข้ามาทำงาน และได้เกิดมีสกุลช่างเขียนที่สำคัญ สกุลช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ในภาคกลางเขียนภาพเรื่องศาสนาหรือเรื่องนิยายต่าง ๆ แบ่งออกได้ 5 แบบ 1. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับเรื่องราวเทวดาและเรื่องนิยายต่าง ๆ 2. แบบคลาสสิคเกี่ยวกับตัวละคอนในเรื่องรามเกียรติ์ 3. นักดนตรี นางรำ ข้าราชสำนัก และบรรดาชนชั้นสูง 4. ประชาชนธรรมดา 5. ภาพนรก

ศิลป์ พีระศรี