คำบรรยายเรื่อง ศิลปในประเทศไทย
- TH Subhadradis 01 BK-01-33-001
- Item
- 2506
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
61 results directly related Exclude narrower terms
คำบรรยายเรื่อง ศิลปในประเทศไทย
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
สถานที่น่าศึกษาในสี่ภาคของประเทศไทย
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
หลักการค้นคว้าวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Part of หนังสือ
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย
Part of บทความ
วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
การขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ทำให้พบข้อมูลที่อาจกำหนดอายุสมัยของปราสาทแห่งนี้ได้ราว 5 สมัย คือนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ที่ 18 สิ่งก่อสร้างสำคัญที่กำหนดอายุได้เก่าที่สุดลงมาจนถึงใหม่สุดได้แก่ ปรางค์อิฐสององค์ ปรางค์น้อย ปรางค์องค์ใหญ่และระเบียงที่ล้อมรอบ ทางเดินและสะพานนาคและวิหารสองหลัง.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ข้อปุจฉาเรื่องบ้านเชียงระหว่าง ดร. สุด แสงวิเชียร กับ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
Part of บทความ
ข้อสงสัยของ ดร.สุด แสงวิเชียร ที่มีต่อบทความเรื่อง Prehistoric art ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล เกี่ยวกับอายุของวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียทดลองอายุโดยวิธี Thermoluminescence พบว่า มีอายุราว 4000 B.C. หรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง ดร.สุด แสงวิเชียร ไม่เชื่อถือการหาอายุบ้านเชียงโดยวิธีคาร์บอน 14 ดังกล่าว ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล แจ้งแหล่งข้อมูลบทความการทดลองอายุบ้านเชียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียและแหล่งข้อมูลบุคคลชื่อ Dr. H.G. Quaritch Wales พร้อมยืนยันว่า การค้นคว้าทางด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ข้อเท็จจริง : พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
Part of บทความ
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เคยเล่าว่า เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ความจริงแล้วไม่ใช่เจดีย์องค์เดิมที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แต่เชื่อว่าเจดีย์ทรงกลมแฝด 2 องค์ ซึ่งคงสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ น่าจะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัยองค์หนึ่ง และพระราชบุตรีที่สิ้นพระชนม์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเจดีย์ทรงกลมทั้ง 2 องค์ ได้ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการค้นพบพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แต่ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ค้นคว้าพบว่า เจดีย์ไม้สิบสององค์นี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะและขุดค้นภายในพระเจดีย์ดังกล่าว ปรากฏว่าได้ค้นพบพระธาตุของพระอรหันต์ใส่ผอบไว้จำนวนมาก แต่ไม่พบพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล
ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ
Part of บทความ
การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.
ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล