ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ไทย

Equivalent terms

ไทย

Associated terms

ไทย

59 Archival description results for ไทย

59 results directly related Exclude narrower terms

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การขุดแต่งที่วัดพระพายหลวง จ. สุโขทัย

วัดพระพายหลวงตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า ศาสนสถานของวัดนี้ คือ พระปรางค์ 3 องค์ตั้งเรียงกัน จากการขุดแต่งค้นพบหลักฐานแสดงถึงศิลปขอมที่เผยแพร่เข้ามา ณ เมืองสุโขทัย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพระปรางค์องค์กลางมีหลักฐานแสดงว่า สมัยสุโขทัยชาวไทยได้มาแก้ไขใหม่เป็นแบบสุโขทัย ภายในซุ้มของพระเจดีย์สำคัญมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสนประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหลายองค์ ด้านหน้าพระเจดีย์มีผนังสูงใหญ่และมีพระพุทธรูปยืนอยู่ 5 องค์ จากร่องรอยโบราณวัตถุสถานที่พบแสดงว่าระหว่าง พ.ศ. 1800 -1825 เป็นระยะที่ก่อสร้างศิลปแบบสุโขทัยขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม ศิลปะลังกาและศิลปะแบบเชียงแสน และมีการดัดแปลงตกแต่งวัดนี้อีกหลายครั้ง แสดงว่าวัดพระพายหลวงเป็นวัดสำคัญอยู่ตลอดสมัยสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

กำหนดอายุปราสาทพนมรุ้ง

การขุดแต่งและบูรณะปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ทำให้พบข้อมูลที่อาจกำหนดอายุสมัยของปราสาทแห่งนี้ได้ราว 5 สมัย คือนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงพุทธศตวรรษที่ที่ 18 สิ่งก่อสร้างสำคัญที่กำหนดอายุได้เก่าที่สุดลงมาจนถึงใหม่สุดได้แก่ ปรางค์อิฐสององค์ ปรางค์น้อย ปรางค์องค์ใหญ่และระเบียงที่ล้อมรอบ ทางเดินและสะพานนาคและวิหารสองหลัง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ข้อเท็จจริง : พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เคยเล่าว่า เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ความจริงแล้วไม่ใช่เจดีย์องค์เดิมที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แต่เชื่อว่าเจดีย์ทรงกลมแฝด 2 องค์ ซึ่งคงสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ น่าจะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัยองค์หนึ่ง และพระราชบุตรีที่สิ้นพระชนม์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเจดีย์ทรงกลมทั้ง 2 องค์ ได้ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการค้นพบพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แต่ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ค้นคว้าพบว่า เจดีย์ไม้สิบสององค์นี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะและขุดค้นภายในพระเจดีย์ดังกล่าว ปรากฏว่าได้ค้นพบพระธาตุของพระอรหันต์ใส่ผอบไว้จำนวนมาก แต่ไม่พบพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ถ้ำงาม ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. มีภาพใหญ่สลักอยู่บนผนังถ้ำทางด้านซ้ายใกล้กับปากถ้ำ เป็นภาพนูนต่ำพระพุทธรูปทรงแสดงปางประทานธรรม (วิตรรกะ) ประทับนั่งห้อยพระบาท (ประลัมพปทาสน์) อยู่บนบัลลังก์ ทรงครองจีวรด้วยการยึดชายผ้าอุตราสงค์ไว้ ด้านซ้ายเป็นรูปพระอิศวรประทับอยู่ในท่าสบายพระทัย (ลลิตาสน์) และมีลักษณะเป็นนักบวช เทวรูปพระนารายณ์ทรงศิราภรณ์คล้ายกับประติมากรรมบางรูปจากเมืองศรีเทพ คือ สวมหมวกรูปทรงกระบอกมีรัศมีเป็นรูปไข่ หรือวงโค้งหลายหยัก จักรของพระนารายณ์มีขนาดใหญ่มาก ดูค่อนข้างแปลก ส่วนรูปเทวดากำลังเหาะทั้งทรงผม เครื่องแต่งกายและท่าทาง ทำให้นึกถึงภาพนูนต่ำปั้นด้วยปูนหรือดินเผาที่พบทางแถบภาคตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สรุปว่า ทั้งพระพุทธรูป เทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ในถ้ำพระโพธิสัตว์ อาจจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดีได้อย่างแท้จริง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยเวลานี้ มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นอีก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย และศิลปะปลายบุรพทิศ (Thai and Far Eastern Museum) เพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุยุคต่าง ๆ ในประเทศไทยและของต่างประเทศที่พบในประเทศไทย ศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา เขมร จัมปา ฯลฯ พร้อมทั้งมีห้องประชุม หอรูปสำหรับเก็บรูปถ่ายศิลปวัตถุสถาน หอสมุดและหอแผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ชาติวงศ์วรรณา (Ethnological Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมถึงชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น สำหรับบุคคลฝ่ายวิชาการควรส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศด้านโบราณคดีในหลายแขนง เพื่อจะได้กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาซ่อมของโบราณที่ขุดค้นได้ วิธีถ่ายรูปของโบราณ วิธีทำแผ่นภาพกระจก ฯลฯ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 59