ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ไทย

Equivalent terms

ไทย

Associated terms

ไทย

5 Archival description results for ไทย

5 results directly related Exclude narrower terms

การกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัย ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุศิลปะในหนังสือ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา และบทความเรื่องศิลปะแห่งแดนเนรมิต (ศิลปะสุโขทัยระหว่าง พ.ศ.1750-1900 ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เป็นการเขียนตามแนวนอน แทนที่จะเขียนตามประวัติของศิลปะแต่ละแบบตามแนวดิ่ง (vertical) โดยเฉพาะการกำหนดอายุศิลปะสมัยสุโขทัยใหม่ ดร.พิริยะ มิได้คำนึงถึงลักษณะร่วมกันเป็นสำคัญ แต่คำนึงถึงสถานที่ค้นพบเป็นสำคัญที่สุด ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลปะสมัยสุโขทัย เช่น วัดศรีสวาย เจดีย์หรือสถูปศิลาแลงในวัดพระพายหลวง ปราสาทที่วัดเจ้าจันทร์ ประติมากรรมที่ค้นพบที่วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง สถูปจำลองสัมฤทธิ์ กลุ่มเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในวัดมหาธาตุ พระพิมพ์ดินเผา ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 วัดสะพานหิน เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเชลียง พระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดช้างล้อม พระพุทธรูปบุเงินที่วัดพระพายหลวง เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ฯลฯ

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โบราณวัตถุสถานสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยและการอนุรักษ์

โบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยแบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนที่ชนชาติไทยจะเข้าปกครองประเทศ และสมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว สำหรับสมัยแรกแบ่งเป็นศิลปะ 5 แบบย่อย ๆ ได้แก่ 1) โบราณวัตถุรุ่นต้นที่ค้นพบในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11) เช่น ตะเกียงโรมันสำริด ซึ่งค้นพบที่ ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศิลปะทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) เช่น ศิลาจารึกภาษามอญรุ่นเก่าราวพุทธศตวรรษที่ 12 ค้นพบในเขตจังหวัดนครปฐม และลพบุรี 3) เทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) เช่น ศิวลึงค์ และเทวรูปพระนารายณ์ ค้นพบทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย 4) ศิลปะศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18) เช่น เศษเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ถัง ค้นพบทั้งทางฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 5) ศิลปะลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-19) พบที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนศิลปะในประเทศไทยเมื่อชนชาติไทยเข้าปกครองแล้ว แบ่งได้เป็น 5 แบบ คือ 6) ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนา (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่ 23) เจริญขึ้นมาทางภาคเหนือของประเทศไทย 7) ศิลปะสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20) ถือกันว่าเป็นศิลปะที่งามที่สุดของไทย เช่น พระพุทธรูปสุโขทัย เครื่องสังคโลก 8) ศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17-20) เช่น พระพุทธรูป พระปรางค์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี 9) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) เช่น จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องอาภรณ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องลายรดน้ำ 10) ศิลปะรัตนโกสินทร์ (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน) มีการเลียนแบบศิลปะจีน และศิลปะตะวันตกเป็นศิลปะแบบผสม (eclectic).

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปและประวัติศาสตร์สุโขทัย

บทความทรงวิจารณ์ของศ. ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ภายในกล่าวถึงบทความ "ศิลปสมัยสุโขทัย" ของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นายเขียน ยิ้มศิริ แปลต้นฉบับภาษาอังกฤษ บทความ "ประวัติศาสตร์สุโขทัย" นางจิรา จงกล เรียบเรียง บทความ "การเมืองของสุโขทัยจากศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ และ ๖๔" นายนิคม มูสิกะคามะ เรียบเรียง และบทความ "ประเพณีไทยสมัยสุโขทัย" น.ส.ทัศนีย์ นาวิกชีวิน เรียบเรียง

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 4]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Art objects of Sukothai period, regarded as the best period of Thai art, will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการสำรวจทางโบราณคดีในประเทศไทย วันที่ 25 กรกฎาคม - 28 พฤศจิกายน 2507

ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรมาสำรวจในประเทศไทยเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อศึกษาปัญหาทางด้านโบราณคดีอันเกิดจากการขุดค้น และค้นคว้าวิชาโบราณคดีไทย โดยจากการสำรวจ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ สรุปผลที่ได้เป็นประเด็นดังนี้ คือ 1) โบราณคดีแห่งอาณาจักรสุโขทัย 2) โบราณคดีแห่งอาณาจักรอยุธยา 3) โบราณคดีแห่งอาณาจักรล้านนา 4) สถาปัตยกรรมและประติมากรรมขอมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลางของประเทศไทย 5) อาณาจักรทวารวดี 6) การศึกษาเกี่ยวกับพระธาตุพนม โดยในแต่ละหัวข้อ มีการกล่าวถึงหลักฐานขุดค้นทางโบราณคดี และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ในตอนท้ายของบทความ ศาสตราจารย์ ฌอง บวสเซอลีเย่ ตั้งข้อสังเกตหรือข้อแนะนำบางประการสำหรับการค้นคว้าตามโบราณสถานและวิชาการจัดพิพิธภัณฑ์ในอนาคตด้วย.

Boisselier, Jean