ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ไทย

Equivalent terms

ไทย

Associated terms

ไทย

4 Archival description results for ไทย

4 results directly related Exclude narrower terms

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ถ้ำงาม ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. มีภาพใหญ่สลักอยู่บนผนังถ้ำทางด้านซ้ายใกล้กับปากถ้ำ เป็นภาพนูนต่ำพระพุทธรูปทรงแสดงปางประทานธรรม (วิตรรกะ) ประทับนั่งห้อยพระบาท (ประลัมพปทาสน์) อยู่บนบัลลังก์ ทรงครองจีวรด้วยการยึดชายผ้าอุตราสงค์ไว้ ด้านซ้ายเป็นรูปพระอิศวรประทับอยู่ในท่าสบายพระทัย (ลลิตาสน์) และมีลักษณะเป็นนักบวช เทวรูปพระนารายณ์ทรงศิราภรณ์คล้ายกับประติมากรรมบางรูปจากเมืองศรีเทพ คือ สวมหมวกรูปทรงกระบอกมีรัศมีเป็นรูปไข่ หรือวงโค้งหลายหยัก จักรของพระนารายณ์มีขนาดใหญ่มาก ดูค่อนข้างแปลก ส่วนรูปเทวดากำลังเหาะทั้งทรงผม เครื่องแต่งกายและท่าทาง ทำให้นึกถึงภาพนูนต่ำปั้นด้วยปูนหรือดินเผาที่พบทางแถบภาคตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สรุปว่า ทั้งพระพุทธรูป เทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ในถ้ำพระโพธิสัตว์ อาจจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดีได้อย่างแท้จริง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รูปพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย สมัยศรีวิชัยในพิพิธสถานแห่งชาติพระนคร

ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปนี้ ขุดได้ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2466 เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวบาน แสดงปางปฐมเทศนา พระเกตุมาลาค่อนข้างใหญ่ เครื่องอาภรณ์ประกอบด้วยกุณฑล กรองศอ และพาหุรัด มีสิงห์4 ตัว แบกบัลลังก์บนแท่นซึ่งรองรับฐานบัว มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาเป็นรูปครึ่งวงกลม ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง สองข้างบัลลังก์มีดอกบัวซึ่งบนดอกบัวมีสตรียืนถือดอกบัวมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งแสดงปางประทานพร
ศ.เซเดส์ เชื่อว่า รูปบุคคลนี้เป็นรูปประโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงอย่างที่สุดกับประติมากรรมของสกุลช่างอินเดีย-ชวา และคิดว่าคงอยู่ในศิลปแบบนั้น แต่ ดร.เคมเปอร์ส (Dr. A-J. Bernet Kempers) เห็นว่าเป็นลักษณะของศิลปอินเดียทางทิศเหนือโดยเฉพาะ ไม่ใช่ลักษณะของประติมากรรมสัมฤทธิ์ในเกาะชวา.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Thailand : Recent Finds at the Sanctuary of Kampaeng Yai

A bronze image was discovered near the southern gate (gopura) of the galleries around Prasat Kampaeng Yai, (Sanctuary of Kampaeng Yai) on 17 May 1989. The statue, standing 184 cm. high (140 cm. for the body, 10 cm. for the base and 34 cm. for the tenon underneath). The statue represents a standing dvarapala (door-guardian).
Professor Jean Boisselier, a French expert on khmer art thinks this bronze statue represents Nandikesvara or Nandisvara, chief of the gana (attendants of Siva). Because of his loyal services, Siva allowed Nandikesvara to change his primitive appearance, which resembles a monkey, to the likeness of Siva. And even if the statue is not really Nandikesvara, Professor Bossolier still thinks this bronze statue is a door-guardian. The way it was gilded and its excellent execution are invitations to suppose that this statue must have stood in front of the central sanctuary of Prasat Kampaeng Yai, or even inside its porch.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี

แนวคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมีไม่ได้มีแต่เฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเท่านั้น แต่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายเล่ม ระบุลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เช่น คัมภีร์กรัณฑพยุหะ เป็นต้น โดยในการเปล่งรัศมีของพระองค์ ปรากฏเทวดา พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ อยู่ภายในรัศมีหรือประภามณฑลของพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวมีผลต่อการสร้างงานศิลปกรรมหลายที่ เช่น ศิลปะเนปาล และศิลปะขอม.

Louis, Finot