ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ไทย

Equivalent terms

ไทย

Associated terms

ไทย

17 Archival description results for ไทย

17 results directly related Exclude narrower terms

ศิลาจารึกบ่ออีกา

บ่ออีกา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชสีมาเก่า โบราณวัตถุที่ค้นพบได้แก่ จารึกศิลาทรายสีแดง ขนาด 1.10 x 0.56 x 0.25 เมตร หลักหนึ่ง ซึ่งแตกออกเป็น 2 ชิ้น แต่ละด้านมีจารึกภาษาสันสกฤต ใช้ตัวอักษรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา จารึกที่เก่าที่สุดประกอบด้วยจารึก 4 บรรทัด ประกอบเป็นคาถา “สรัคธรา” สลักด้วยตัวอักษรขนาดค่อนข้างใหญ่ ข้อความในจารึกที่อ่านได้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และกล่าวถึงพระราชาแห่งอาณาจักรศรีจนาศะทรงอุทิศปศุสัตว์และทาสทั้งชายหญิงถวายแด่พระภิษุสงฆ์ จารึกด้านที่ 2 เป็นภาษาสันสกฤต 12 บรรทัด และจารึกภาษาขอม 5 บรรทัด กล่าวถึงการสรรเสริญพระอิศวรก่อนกล่าวถึงอังศเทพ หลักฐานสำคัญของจารึกหลักนี้ก็คือ ทำให้ทราบว่าใน พ.ศ. 1411 ดินแดนจังหวัดนครราชสีมา อาจเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโบราณชื่อ จนาศะ ซึ่งยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชา.

ฉ่ำ ทองคำวรรณ

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean

Notes : further notes on Prasat Muang Singh, Kanchanaburi province

บทความใน Journal of Siam Society ใน ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) เป็นบทความที่วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมปราสาทเมืองสิงห์ซึ่งอยู่ในระหว่างการขุดแต่งโดยกรมศิลปากร และวิเคราะห์ประเด็นประติมากรรมที่ค้นพบ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

This is an article originally published in the Journal of Siam Society in 1978 focusing on the architecture and the sculpture during the excavation by the Fine Art Department. The article also studies the image of Avalokiteshvara discovered from the site.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 5]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume will discuss Chiengsaen style, U-thong school, Ayutthaya and Rattanakosin periods.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Exhibition of Masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 4]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Art objects of Sukothai period, regarded as the best period of Thai art, will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 3]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Now the objects of the Lopburi style will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 2]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Art specimens of the two following periods, the early Hindu images in Thailand and Srivijai will be described in this volume.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 1]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. This volume mentions the ancient objects of Indian Amaravati or early Singhalese and of Dvaravati styles.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการนำนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรไปทำการขุดค้นที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 1 คณะโบราณคดีนำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองที่ซากพระเจดีย์นอกคูเมือง บริเวณแนวปูนปั้นที่เคยใช้ประดับพระเจดีย์ได้พบปูนปั้นจำนวนมาก และวัตถุต่างๆ ที่น่าสนใจ 30 ชิ้น มีทั้งองค์พระพุทธรูป ฐานพระพุทธรูป ฐานบัวพระพุทธรูปและพระบาท ครุฑและปีกครุฑ เศียรพระพุทธรูป ลายก้านขด องค์เทวรูป พระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์แบบทวาราวดีปางเทศนาสูง 13 เซนติเมตร และพระพิมพ์ดินเผาแบบทวาราวดี เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย สูง 8 ½ เซนติเมตร หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์องค์นี้คงจะสร้างขึ้นในสมัยทวาราวดีรุ่นหลัง ครั้งที่ 2 ได้นำคณะนักศึกษาไปขุดซากโบราณสถานภายในตัวเมืองอู่ทองอีก ส่วนใหญ่พบวัตถุปูนปั้นและได้ขุดพบพระพุทธรูปปูนปั้นยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นแบบอู่ทองยุคที่ 1 สูง 34 เซนติเมตร เศียรเทวดาแบบทวาราวดีรุ่นหลังขนาดสูง 15 เซนติเมตร และลวดลายปูนปั้นแปลกๆ เช่นลายบันได ลายประจำยาม ลายวงกลมโค้งต่อกัน จากหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดค้นทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่า ศิลป ณ.เมืองอู่ทองมีสืบลงมาตั้งแต่แบบทวาราวดีจนถึงแบบอู่ทอง สันนิษฐานว่า เมื่อศิลปแบบคุปตะแพร่ออกมาจากประเทศอินเดีย คงจะมาเจริญแพร่หลายที่เมืองนครปฐม ซึ่งอยู่ใกล้ทะเลก่อน ต่อจากนั้นจึงได้แผ่ขึ้นมายังอู่ทอง ทำให้ได้รับอิทธิพลของชาวพื้นเมืองมากขึ้นและฝีมือก็คลายลง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 1 to 10 of 17