สหรัฐอเมริกา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สหรัฐอเมริกา

Equivalent terms

สหรัฐอเมริกา

Associated terms

สหรัฐอเมริกา

4 Archival description results for สหรัฐอเมริกา

4 results directly related Exclude narrower terms

การนำศิลปวัตถุไทยไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา

ศิลปวัตถุที่ได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพฯ และพระวิหารสมเด็จวัดเบญจมบพิตร พิพิธภัณฑสถานที่จังหวัดนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรีและลำพูน รวมทั้งศิลปวัตถุบางชิ้นของเอกชน แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้ ศิลปะแบบทวารวดี 29 ชิ้น แบบ เทวรูปรุ่นเก่า 3 ชิ้น แบบศรีวิชัย 7 ชิ้น แบบลพบุรี 52 ชิ้น แบบเชียงแสน 27 ชิ้น สุโขทัย 40 ชิ้น อู่ทอง 5 ชิ้น อยุธยา 69 ชิ้น นครศรีธรรมราช 1 ชิ้น รัตนโกสินทร์ 101 ชิ้น รวมทั้งหมด 334 ชิ้น โดยที่เป็นการตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับพิพิธภัณฑสถานและสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา 8 แห่ง เพื่อนำศิลปกรรมไทยไปจัดแสดงเป็นครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า เมืองบลูมิงตัน รัฐอินเดียน่า ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 2503.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 2]

การเข้าร่วมประชุมสภาผู้มีความรู้ด้านตะวันออกระหว่างชาติครั้งที่ 27 โดยได้เดินทางจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนไปยังกรุงวอชิงตันดีซี และนครนิวยอร์ค ก่อนที่จะเดินทางไปยังนครลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อเยี่ยมเยียนผู้รู้จักและหาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก และกรุงปารีส เข้าชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หาซื้อหนังสือด้านโบราณคดีตะวันออก เยี่ยมศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และเดินทางกลับประเทศไทย.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล