กัมพูชา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กัมพูชา

Equivalent terms

กัมพูชา

Associated terms

กัมพูชา

49 Archival description results for กัมพูชา

49 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 9]

บทความกล่าวถึงพระพุทธรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ตั้งแต่ศิลปะแปรรูป บันทายศรี คลัง บาปวน นครวัดและบายน รวมถึงศิลปะระยะหลังอีก 2 ระยะ คือ หลังสมัยบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร โดยมีพัฒนาการทั้งในแง่ของประติมานวิทยาและรูปแบบศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงมุทรา อิริยาบถ พัฒนาการของเกตุมาลา เครื่องทรง จีวร มีการยกตัวอย่างสำคัญ.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 10]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู ทั้งพระพรหม พระนารายณ์และอวตารของพระองค์ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นนรสิงหาวตาร ตรีวิกรม พระราม พระกฤษณะ พระพลราม พระกัลกิน จากนั้นจึงกล่าวถึงพระอิศวรและศิวลึงค์ ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงประติมากรรมผสมทั้งพระหริหระและอรรธนารีศวร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 11]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นเทพเจ้าชั้นรองในศาสนาฮินดู ทั้งพระคเณศ พระขันธกุมาร พระอาทิตย์ พระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศ จากนั้นกล่าวถึงเทวสตรี อันได้แก่พระอุมา พระลักษมี ส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงเทวดาชั้นรอง เช่น ทวารบา เทพธิดา นางอัปสร คณะ อสูร นาค คนธรรพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 12]

บทความกล่าวถึงลักษณะรูปภาพ (Iconography) ในศิลปะขอม หรือปัจจุบันเรียกวิชานี้ว่าประติมานวิทยา โดยเน้นพุทธศาสนา ทั้งพระศรีศากยมุนี ประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาหรือศักติ รวมถึงเทพในพุทธศาสนาองค์อื่น ๆ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปสัตว์และลวดลายพันธุ์พฤกษาในศิลปะขอม ไม่ว่าจะเป็นโค ครุฑ ช้าง.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 13]

บทความกล่าวถึงพัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม อันได้แก่ สิงห์ หงส์ ม้า ลิง เต่า มกร คชสีห์ มังกร ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงลายพันธุ์พฤกษา ทั้งในศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 16]

ประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยหลังเมืองพระนครสามารถแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ ประติมากรรมขนาดเล็ก เครื่องใช้ในกิจพิธีและเครื่องใช้สอย เชิงเทียน กระดึง ภาชนะต่าง ๆ เครื่องม้า และอาวุธ ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังคงรักษารูปแบบศิลปะสมัยเมืองพระนคร แต่บางส่วนแสดงถึงอิทธิพลจากภายนอก โดยเฉพาะศิลปะไทย นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมแขนงอื่น ๆ ของศิลปะเขมรทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร ที่น่าศึกษา ได้แก่ เครื่องเหล็ก เครื่องทองและเงิน (ในบทความใช้คำว่า “เครื่องเพชรพลอย) โดยในกลุ่มหลังนี้ ประกอบด้วย เครื่องเพชรพลอย แม่พิมพ์เครื่องประดับ ที่ประทับตรา และเงินตรา.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 17]

มีนักวิชาการศึกษาเครื่องดินเผาในศิลปะขอมไม่มากนัก ในบทความนี้แบ่งเครื่องดินเผาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) เครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม และ2) ภาชนะดินเผา โดยในกลุ่มเครื่องดินเผาที่ใช้ประกอบสถาปัตยกรรม ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยเมืองพระนคร และสมัยหลังเมืองพระนคร สำหรับกลุ่มภาชนะดินเผา แบ่งออกเป็น 2 สมัย ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร.

Boisselier, Jean

ปราสาทพระวิหารในแง่ศิลป

ปราสาทพระวิหารได้วางแผนผังอย่างฉลาดยิ่ง เปรียบเสมือนการค่อย ๆ ก้าวขึ้นไปสู่ที่ประทับพระผู้เป็นเจ้า คือยังเขาไกรลาส ประกอบด้วยแผนผังที่สลับซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสร้างบนเชิงเนินเขาสูงขึ้นไปตลอดระยะ 105 เมตร และสิ้นสุดตรงหน้าผาใหญ่ตั้งเด่นอยู่เหนือพื้นที่ราบเบื้องล่าง

บริเวณซุ้มประตูชั้นแรกใน 4 ชั้น มีภาพสลักบนซุ้มประตูแสดงรูปเทวดาและเรื่องราวต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูหลังที่สองซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาทคล้ายกับซุ้มประตูชั้นอื่น เมื่อขึ้นไปยังซุ้มประตูที่ 3 และซุ้มประตูที่ 4 ก็จะพบเทวาลัยศาสนสถานสร้างบนยอดเขาซึ่งอีกด้านหนึ่งจะตัดดิ่งลงไปเป็นหน้าผาทันที

บริเวณเทวาลัยสร้างขึ้นตามต้นแบบของอินเดีย คือเป็นเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันศักดิ์สิทธิ์ล้อมรอบไปด้วยระเบียงมุงหลังคารูปโค้ง ลักษณะอันสวยงามอันหนึ่งของปราสาทพระวิหารคือ ความละเอียดอ่อนของลวดลายที่สลักขึ้น เส้นนอกของลวดลายกรอบหน้าบันแตกต่างไปจากรูปนาคซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่เสมอในศาสนสถานเขมร ลายนี้อาจวิวัฒน์มาจากลวดลายมการหรือเหราแบบอินเดียซึ่งปรากฎเช่นเดียวกันบนทับหลังปราสาทสมโบร์ไพรกุกในประเทศกัมพูชา

ศิลป์ พีระศรี

Results 21 to 30 of 49