กาญจนบุรี

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กาญจนบุรี

Equivalent terms

กาญจนบุรี

Associated terms

กาญจนบุรี

5 Archival description results for กาญจนบุรี

5 results directly related Exclude narrower terms

พระพุทธรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ประเทศไทยจัดแบ่งพระพุทธรูปรุ่นเก่าที่ค้นพบไว้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี หรือ แบบลังการุ่นต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กที่ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรเป็นริ้ว มักแสดงปางประทานอภัยหรือทรงสั่งสอน (วิตรรกะ) แบบที่ 2 คือ แบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ได้แก่ ศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปครองจีวรเรียบ มีทั้งครองจีวรห่มคลุมและห่มเฉียง มาบัดนี้ ได้ค้นพบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นพระพุทธรูปศิลาครึ่งองค์ สูง 59.3 ซม. มีขมวดพระเกศาแบบเรียบติดกับพระเศียร พระเกตุมาลาแบนมาก ด้านหลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นวงกลม ครองจีวรห่มเฉียงแบบศิลปะอมราวดี แต่จีวรเรียบไม่มีริ้ว อาจจัดเป็นพระพุทธรูปหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างอิทธิพลของศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะกับหลังคุปตะได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

สาส์น 2 ศาสตราจารย์ ศจ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ศจ. น.พ. สุด แสงวิเชียร : คนไทยอยู่ที่นี่หรือมาจากไหน?

จดหมายระหว่าง ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร เกี่ยวกับคนไทยในดินแดนไทยเมื่อ 4,000 ปี มาแล้ว ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ เคยแสดงปาฐกถาเรื่อง ทับหลัง 4 ชิ้น จากประสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว) ว่า “ปราสาทที่สร้างอยู่ในดินแดนประเทศไทยนั้น เข้าใจว่าเป็นของช่างอีกพวกหนึ่งไม่ใช่พวกช่างเขมร แต่เป็นช่างที่อยู่ในบริเวณใกล้กับปราสาท” ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด คิดว่า น่าจะเป็นช่างพื้นเมืองซึ่งอาจเป็นคนไทยที่ลอกเลียนแบบจากฝีมือช่างเขมร ซึ่งจากการขุดค้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า อาจมีคนไทยอยู่ในดินแดนไทยอย่างน้อยประมาณ 4,000 ปี แต่ ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ เชื่อว่า คนไทยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนตามหลักทางด้านภาษาศาสตร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด เห็นด้วยว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงกระดูกของคนผิวเหลืองนั้นเป็นคนไทย แต่เสนอสิ่งที่มนุษย์เมื่อ 4,000 ปี ในดินแดนประเทศไทยทำขึ้นใช้ในการดำเนินชีวิต คือ เครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา ลูกรอก (pulley) การควั่นงาช้างทำเป็นลูกปัด และเครื่องขุดทำจากหิน เป็นต้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Notes : further notes on Prasat Muang Singh, Kanchanaburi province

บทความใน Journal of Siam Society ใน ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) เป็นบทความที่วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมปราสาทเมืองสิงห์ซึ่งอยู่ในระหว่างการขุดแต่งโดยกรมศิลปากร และวิเคราะห์ประเด็นประติมากรรมที่ค้นพบ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

This is an article originally published in the Journal of Siam Society in 1978 focusing on the architecture and the sculpture during the excavation by the Fine Art Department. The article also studies the image of Avalokiteshvara discovered from the site.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตะเกียงแบบอาเล็กซานเดรียที่พงตึก (ประเทศไทย)

ศาสตราจารย์ Picard กล่าวว่า ตะเกียงที่ขุดพบที่ตำบลพงตึก จ.กาญจนบุรี เป็นแบบที่ทำขึ้น ณ เมืองอาเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยปโตเลเม และมีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่6 บนฝาตะเกียงที่เปิดใส่น้ำมันเป็นภาพสลักรูปหน้าเทพเจ้า Silenus มีเถาวัลย์ เป็นเครื่องประดับอยู่ข้างบน บนด้ามถือเป็นรูปปลาโลมา ศาสตราจารย์ Picard กล่าวยืนยันถึงการที่ตะเกียงโรมันนี้ได้เดินทางมาจากประเทศอียิปต์ โดยเทียบเคียงแล้วเก่ากว่าตะเกียงแบบ copte ในพิพิธภัณฑ์ Louvre กรุงปารีส และเป็นสินค้าที่ส่งออกมานอกประเทศโดยการค้าขายทางเรือ ซึ่งแย้งกับความเห็นของ ศาสตราจารย์ Coedes ที่กล่าวว่าตะเกียงนี้คงใช้จุดในที่ฝังศพ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศิลปทวารวดี ตอนที่ ๑

ศิลปะทวารวดีแบ่งเป็น 2 สมัยใหญ่ ๆ คือ 1) สมัยก่อนทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 8-11 ปรากฏมีการวางรากฐานแห่งอารยธรรมอินเดียโดยเฉพาะทางพุทธศาสนาลงในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันมีการสร้างงานศิลปกรรมแบบพื้นเมืองรุ่นแรกที่เลียนแบบหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปวัตถุอินเดีย 2) สมัยทวาราวดีอย่างแท้จริง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 สมัยย่อย คือ สมัยเริ่มก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12, สมัยก่อตั้งศิลปะ ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13, สมัยฟื้นฟูใหม่ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15, สมัยเสื่อม ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยในแต่ละยุคสมัยมีรูปแบบศิลปกรรมที่แสดงถึงการผสมผสานแรงบันดาลใจจากภายนอกและความคิดของช่างพื้นถิ่น.

Boisselier, Jean