กัมพูชา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กัมพูชา

Equivalent terms

กัมพูชา

Associated terms

กัมพูชา

49 Archival description results for กัมพูชา

49 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 1]

บทความกล่าวถึงวิธีการแบ่งยุคสมัยย่อยในศิลปะขอม และประติมากรรมขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งในแง่ของวัสดุต่าง ๆ ทั้งโลหะ ศิลา ปูนปั้น ไม้ ซึ่งมีเงื่อนไขทางด้านเทคนิคแตกต่างกันไป ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงรูปร่างและท่าทางโดยเน้นถึงสุนทรียภาพของประติมากรรมขอม.

Boisselier, Jean

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 7]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงวิวัฒนาการของรูปสัตว์ในศิลปะขอม โดยยกตัวอย่างนาคตั้งแต่สมัยพระโคจนถึงศิลปะบายน ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงภาพจำหลักเล่าเรื่องในศิลปะขอม โดยมีการยกตัวอย่างจากปราสาทบันทายสรี นครวัดและบายน (ในบทความเรียกศิลปะบายนว่า “บรรยงก์)

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 6]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

บันทึกย่อประวัติทั่วไปของศิลปะด้านอินเดียและตะวันออกไกล [ตอนที่ 5]

ช่วงต้นของบทความ กล่าวถึงทับหลังในศิลปะขอม ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครจนถึงสมัยเมืองพระนคร ซึ่งมีพัฒนาการเป็นลำดับ ช่วงท้ายของบทความกล่าวถึงเสาประดับกรอบประตูขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

จารึกบทที่ 122 ถึง 126 ของปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงที่พักคนเดินทาง 121 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างตามทางเดินที่มีอยู่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ที่พักคนเดินทางเหล่านี้สร้างด้วยศิลา ซึ่งมีไฟตรงกับอาคารในจารึกกล่าวไว้ว่ามี 57 แห่ง บนทางระหว่างเมืองพระนคร (อังกอร์) กับราชธานีของประเทศจัมปามี 17 แห่งจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย และมี 44 แห่งบนทาง ซึ่งมีเมืองต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกัน นายเดอลาจองกีแยร์ จัดไว้ว่าเป็นโบราณสถานแบบ “ปราสาททัพเจย” แต่ นายฟีโนต์ เรียกว่า “ธรรมศาลา” ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้เพิ่มเติมไว้ในบทความว่า ที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบในประเทศไทยมี 7 แห่ง ในจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือน จังหวัดบุรีรัมย์ พบ 5 แห่ง คือ ปราสาททมอ ปราสาทบ้านบุ ปราสาทโคกปราสาท ปราสาทหนองปล่อง และปราสาทเทพสถิตย์ ส่วนที่จังหวัดนครราชสีมา พบ 1 แห่ง คือ ปราสาทห้วยแคน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความคิดเกี่ยวกับพระพุทธรูปนาคปรก ของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลีเย่

พระพุทธรูปนาคปรกมีอยู่เป็นจำนวนมากในศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะขอมและศิลปะลพบุรี ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปนาคปรกของขอมซึ่งเกิดขึ้นราวตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 ในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 น่าจะได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปนาคปรกรุ่นเก่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย และมีอายุอย่างช้าที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ ผู้แปลให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ศิลปะสมัยศรีวิชัยและศิลปะลพบุรีส่วนใหญ่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกในสมัยนั้นอาจเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัยก็ได้.

Boisselier, Jean

600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม

ประวัติศาสตร์ของเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.1345 กษัตริย์ขอมที่ครองราชย์สมัยเมืองพระนครที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์กระทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระจักรพรรดินับว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในสมัยนี้และตั้งราชธานีที่เมืองหริหราลัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพระโคและปราสาทบากอง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทรงสร้างสระบารายตะวันออกและปราสาทโลเลย ทรงสร้างปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพนมกรมและปราสาทพนมบก พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทปักษีจำกรง พระเจ้าราเชนทรวรมันทรงสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออกกลางบารายตะวันออกและปราสาทแปรรูป พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างปราสาทพนมชิสอร์ ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพิมานอากาศ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทบาปวน ปราสาทแม่บุญตะวันตก พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างประสาทนครวัด พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาท ทรงเป็นพระราชาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเมืองพระนครและในประวัติศาสตร์ของขอม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 31 to 40 of 49