กัมพูชา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กัมพูชา

Equivalent terms

กัมพูชา

Associated terms

กัมพูชา

4 Archival description results for กัมพูชา

4 results directly related Exclude narrower terms

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 1]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 1 ประวัติศาสนาในอาณาจักรขอม) อาณาจักรขอมเป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมจากอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 6 มีชื่อตามเอกสารและจารึกที่ปรากฎ คือ ฟูนัน เจนละ และกัมพุเทศหรือกัมพุชเทศ ซึ่งดินแดนของอาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวาง ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานในจดหมายเหตุจีน ศิลาจารึก และประติมากรรมได้ชี้ให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นหลัก และลัทธิไวษณพนิกายรวมอยู่ด้วย รวมถึงศาสนาพุทธซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นนิกายใด ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีจารึกส่วนใหญ่ที่เก่าและแสดงถึงนิกายเถรวาทก่อนจะเป็นนิกายมหายาน

Bhattacharya, Kamaleswar

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล