กัมพูชา

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กัมพูชา

Equivalent terms

กัมพูชา

Associated terms

กัมพูชา

6 Archival description results for กัมพูชา

6 results directly related Exclude narrower terms

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 2]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 2 สมัยแรกคือศิลปะพนมดาและสมโบร์ไพรกุก มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 3]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร 3 สมัยคือศิลปะไพรกเมง ศิลปะแบบปราสาทอันเดตและศิลปะกำพงพระ มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและประติมากรรมบนทับหลัง โดยศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 4]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อและศิลปะระยะต้นสุดของสมัยเมืองพระนคร จำนวน 2 สมัย คือศิลปะกุเลนและศิลปะพระโค มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญโดยเจาะจงประติมากรรมลอยตัวซึ่งพัฒนาไปสู่การไม่มีวงโค้งยึดอีกต่อไป มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 6]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะกลาง จำนวน 4 สมัย คือศิลปะแปรรูป ศิลปะบันทายศรี ศิลปะคลังและศิลปะบาปวน มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญ ซึ่งมีทั้งพัฒนาการและการเลียนแบบศิลปะรุ่นเก่า มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย.

Boisselier, Jean

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 7]

บทความกล่าวถึงประติมากรรมขอมสมัยเมืองพระนครระยะปลาย จำนวน 2 สมัย คือศิลปะนครวัดและศิลปะบายน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาศิลปะสมัยหลังอีก 2 สมัย คือ ศิลปะหลังบายนและศิลปะหลังสมัยเมืองพระนคร มีการยกตัวอย่างประติมากรรมสำคัญทั้งประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูน มีการศึกษาลักษณะของทรงผมและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสุนทรียภาพ.

Boisselier, Jean

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.

Bhattacharya, Kamaleswar