เกาะแกร์ (กัมพูชา)

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เกาะแกร์ (กัมพูชา)

Equivalent terms

เกาะแกร์ (กัมพูชา)

Associated terms

เกาะแกร์ (กัมพูชา)

4 Archival description results for เกาะแกร์ (กัมพูชา)

4 results directly related Exclude narrower terms

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 4]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ปรัชญาในศาสนาพราหมณ์พบในจารึกขอมที่กล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในจารึกภาษาสันสกฤต แสดงถึงพระอิศวรทรงเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ยิ่งใหญ่อันประเสริฐ เกิดเป็นรูปอยู่ประจำทั้ง 8 ขึ้น (อษฺฏ มูรติ)คือ แผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ และอาตมัน แนวความคิดรูปทั้งแปดพบมากในอาณาจักรขอม โดยในงานพิธีกรรมก็สอดคล้องกับแนวคิดในประเทศอินเดียด้วย ปฺรณว เครื่องหมายโอม เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระอิศวร มีลักษณะ 3 ประการ ลักษณะที่ 1 คือพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ และไฟ ลักษณะที่ 2 คือตรีมูรติ และลักษณะที่ 3 คือคุณสมบัติ 3 ประการ ซึ่งทำให้นึกถึงพระเนตรทั้งสามของพระอิศวรด้วย
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเกี่ยวข้องกับการสังเวชบูชาไฟในการเคารพพระอิศวร พระอัคนีเป็นรูปหนึ่งของ อษฺฏ - มูรติ ไฟก็คือแสงประจำโลก และคือพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน โดยแสงนั้นเป็นแสงสว่างขั้นต้นกำเนิดโดยพระผู้สร้าง โดยศิวลึงค์เปรียบได้กับเสาแห่งไฟ ที่เป็นแสงสว่างเหนือความมืด สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ที่สัมพันธ์กับแสงสว่าง ลัทธิโยคะยังเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเคารพบูชา

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 8]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 4 การเคารพบูชาเทพชั้นรอง) พระพรหมได้รับการเคารพร่วมกับพระอิศวรและพระนารายณ์ ไม่มีการบูชาเพียงองค์เดียว มีการสร้างเทวาลัยให้ทั้งสามองค์เป็นตรีมูรติในอาณาจักรขอม โดยหลังกลางสร้างถวายพระอิศวร หลังเหนือถวายพระนารายณ์ และหลังทิศใต้สร้างถวายพระพรหม ซึ่งลำดับดังกล่าวสอดคล้องกับความเชื่อในลัทธิไศวนิกาย และลัทธิไวษณพนิกาย ศักติของพระพรหมคือพระสรัสวดีเป็นเจ้าแห่งคำพูด ได้รับการบูชามากกว่าพระพรหมโดยจารึกกล่าวถึงการสร้างเทวาลัยถวายเฉพาะแต่พบประติมากรรมหลงเหลือน้อยมาก การสร้างรูปพระพรหมมีลักษณะรูปแบบที่รับมาจากอินเดีย พระอาทิตย์ เป็นหนึ่งในผู้แทนพระอิศวรเช่นเดียวกับพระอัคนี ซึ่งทำหน้าที่เป็นแสงสว่างประจำโลกเช่นเดียวกัน ประติมากรรมรูปพระอาทิตย์ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระคเณศผู้เป็นเจ้าแห่งอุปสรรค พบหลักฐานจารึกและประติมากรรมพบว่ามีการบูชาพระคเณศในอาณาจักรขอมอย่างแพร่หลาย มีการสร้างเทวลัยถวาย และสร้างประติมากรรมจำนวนมาก สมัยก่อนเมืองพระนครสร้างรูปแบบพระคเณศตามศิลปะอินเดียคือมีความธรรมชาติคล้ายสัตว์ ต่อมาสมัยเมืองพระนครได้ลดทอนให้คล้ายมนุษย์มากขึ้น

Bhattacharya, Kamaleswar

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 11]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 6 การผสมระหว่างลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย) ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกายมีการนับถือพระนารายณ์และพระอิศวรด้วยกันทั้งสองลัทธิ ในอินเดียก็คัมภีร์ของทั้งสองนิกายมีความพยายามรวมกันของพระนารายณ์และพระอิศวรเช่นกัน ในอาณาจักรขอมผู้นับถือลัทธิไศวนิกายจะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้สูงสุด และมีพระนารายณ์และพระพรหมต่ำกว่าเพราะออกมาจากพระอิศวร ลัทธิไวษณพนิกายถือว่าพระอิศวรและพระพรหมออกมาจากพระนารายณ์ เนื่องจากพระพรหมไม่มีนิกาย ทำให้พระนารายณ์และพระอิศวรเป็นศูนย์กลางของลัทธิทั้งสอง จึงมีความพยายามการรวมกันของสองพระองค์ คือพระหริหระ นอกจากนี้การผสมกันของสองนิกายได้มีผลแก่รูปแบบของพระคเณศด้วย.

Bhattacharya, Kamaleswar

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล