กาฬสินธุ์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

กาฬสินธุ์

Equivalent terms

กาฬสินธุ์

Associated terms

กาฬสินธุ์

2 Archival description results for กาฬสินธุ์

Only results directly related

เมืองฟ้าแดด

เมืองฟ้าแดดมีบริเวณล้อมรอบหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทินดิน มีคูน้ำอยู่กลาง ภายในเชิงเทินมีร่องรอยของเมืองที่เก่าและเล็ก มีพระธาตุยาคู ทางทิศตะวันตกของพระธาตุยาคูมีเนินอีกแห่งหนึ่งซึ่งได้ค้นพบพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ทิศเหนือของเนินมีสระขนาดใหญ่ ใต้หมู่บ้านเสมามีวัดปัจจุบันชื่อ วัดโพธิศรีเสมา ซึ่งรวบรวมแผ่นหินทรายทำเป็นรูปใบเสมาขนาด 105 x 85 x30 เซนติเมตร ซึ่งค้นพบทั้งในและนอกเชิงเทินเมืองฟ้าแดด บางแผ่นมีภาพสลักศิลปแบบทวาราวดี แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ขั้นที่ 1 มี 4 แผ่น แผ่นที่ 1 แสดงรูปพระพุทธองค์ปางเสด็จลงจากดาวดึงษ์ แผ่นที่ 2 แสดงภาพพระพุทธองค์เสด็จกลับมายังเมืองกบิลพัสด์ภายหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว แผ่นที่ 3 แสดงภาพเทวดาหรือเจ้าชาย แผ่นที่ 4 แสดงภาพบุคคลกำลังรับคำสั่งจากเจ้าชายและเจ้าหญิงหน้าบรรณ ศาลากลางป่า ขั้นที่2 มี 2 แผ่น สลักแบนกว่าขั้นที่ 1 แผ่นที่1 แสดงรูปเจ้าชายจ้องมองพระพุทธองค์ ซึ่งกำลังประทับอยู่เหนือเมฆ แผ่นที่ 2 แสดงถึงเวสสันดรชาดก ขั้นที่ 3 มี 1 แผ่น แสดงภาพพระพุทธองค์และสานุศิษย์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

แผ่นเงินสมัยทวาราวดีซึ่งขุดพบที่อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แผ่นเงิน 66 แผ่น ค้นพบที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในซากพระอุโบสถ (?) ซึ่งเรียกกันว่า อุ่มญาคู ในเมืองคันธารวิสัย ต.คันธาร์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2515 เมืองคันธารวิสัย มีแผนผังเป็นรูปไข่ มีคูเมืองล้อมรอบอยู่ระหว่างเชิงเทิน 2 ชั้น สิ่งสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ค้นพบในการขุดแต่งซากพระอุโบสถคือ พระพิมพ์ดินเผา ขนาด 14 x 22.5 ซม. เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ ภาชนะดินเผาสูง 12.5 ซม. ปากกว้าง 20 ซม. มีแผ่นเงินบุเป็นรูปต่าง ๆ 66 แผ่น อยู่ภายใน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่าง ๆ กัน ระหว่าง ขนาด 10 x 15 ซม. เป็นแผ่นเงินที่ถูกบุเป็นพระพุทธรูป รูปเทวดาหรือเจ้านาย รูปสถูปและธรรมจักรตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง อาจสรุปว่าสร้างขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยบุขึ้นในตอนปลายของศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 แสดงถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในขณะนั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล